วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศีลปะตะวันตกเพื่อการนำเที่ยว

Postmodernism
โดย...Dr. Mary Klages
(เรียบเรียงจาก...http://www.colorado.edu/English/ENGL2012Klages/pomo.html)

Postmodernism เป็นถ้อยคำและกรอบความคิดที่ซับซ้อน เกิดขึ้นในแวดวงวิชาการตั้งแต่กลางปี ๑๙๘๐ Postmodernism มีคำจำกัดความที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะมันเป็นแนวคิดหนึ่งที่ปรากฏในความหลากหลายของกฏเกณฑ์หรือแขนงวิชาการต่างๆ รวมถึงศิลปะ สถาปัตยกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณคดี สังคมวิทยา สื่อสารมวลชน แฟชั่น และเท็คโนโลยี และยากที่จะระบุช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ของมัน เพราะไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อใด อาจเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการการเริ่มคิดถึง -postmodernism ก็โดยการคิดถึงสิ่งที่เกี่ยวกับความทันสมัย-modernism ความเปลี่ยนแปลงเกิดจากการเริ่มและขยายความจากความทันสมัย -Modernism มีสองประเด็นหลัก หรือสองแนวทางในคำจำกัดความ ทั้งสองนี้เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในแนวคิด -postmodernism.


ประเด็นแรกหรือคำจำกัดความแรกของ -modernism นั้นมาจากการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเรื่องสุนทรียศาสตร์ในตราประทับของ "modernism." การเคลื่อนไหวนี้นำไปสูจุดหมายปลายทางของแนวคิด


ศิลปะตะวันตกของศตวรรษที่ ๒๐ (แม้ว่าร่องรอยจะเริ่มปรากฏในช่วงของศตวรรษที่ ๑๙ ก็ตาม) Modernism นั้น อย่างที่ทราบกัน เป็นการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงของแขนงวิชา ทัศนศิลป์ ดนตรี วรรณคดี และการละคอน ซึ่งต่อต้านแนวคิดแบบ Victorian ศิลปะเดิมที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ในช่วง "high modernism," ระหว่างปี 1910 ถึง 1930 งานวรรณกรรมในแบบฉบับของ modernism ช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงและทบทวน การเขียนโคลงกลอนและนิยายกันใหม่ เช่นผลงานของ Woolf, Joyce, Eliot, Pound, Stevens, Proust, Mallarme, Kafka, และ Rilke ท่านเหล่านี้ถูกจัดเป็นผู้ริเริ่มของวรรณกรรม -modernism แห่งศตวรรษที่ ๒๐.


จากมุมมองทางด้านวรรณกรรม ลักษณะสำคัญของ modernism ประกอบด้วย:

1. เน้นเรื่องความรู้สึกล้วนๆ-impressionism และการเขียนในเชิงนามธรรม (เช่นเดียวกันงานทัศนศิลป์) การเน้นที่เห็น "อย่างไร" (หรือการอ่านหรือการรับรู้ด้วยตัวมันเอง) มากกว่า "อะไร" ที่มองเห็น ตัวอย่างนี้คือ งานเขียนที่เต็มไปด้วยกระแสของจิตที่มีสำนึก (stream-of-consciousness writing)
2. ความเปลี่ยนแปลงอันหนึ่ง คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรอบรู้ในการบรรยายของบุคคลที่สาม มุมมองที่เฉพาะเจาะจง และเงื่อนไขทางศีลธรรมที่ชัดเจน เช่น เรื่องราวการบรรยายของ Faulkner เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวเขียนแบบ modernism.
3. ความกำกวมของความแตกต่างระหว่างเรื่องราวที่เคยสามารถอ่านได้จากภาพ กับบทกลอน ที่เพิ่มความเป็นสารคดี (เช่นงานเขียนของ T.S. Eliot ) และบทรอยแก้ว ที่ค่อนไปทางโคลงกลอนมากขึ้น (เช่นงานเขียนของ Woolf หรือ Joyce)
4. เน้นรูปแบบที่แยกออกเป็นส่วนๆ การบรรยายเรื่องราวที่ไม่ต่อเนื่องและการสุมรวมปะติดปะต่อของสิ่งที่แตกต่างกัน
5. โอนเอียงในทำนองการสะท้อนกลับ หรือรู้สำนึกได้ด้วยตัวเอง ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ เพื่อที่งานแต่ละชิ้นจะได้เรียกร้องความสนใจเฉพาะตามสถานะของการรังสรรค์ในวิธีการที่เป็นพิเศษ
6. รูปแบบทางสุนทรีย์เน้นที่ความน้อยสุด (minimalist designs ..เช่นในงานประพันธ์ของ William Carlos Williams) ส่วนใหญ่ปฏิเสธทฤษฎีสุนทรีย์ศาสตร์ที่เคร่งครัดแบบเดิม สนับสนุนการสร้างสรรค์ที่เกิดจากการค้นพบด้วยตนเองตามธรรมชาติ
7. ปฏิเสธการแยกเป็นสองขั้ว เช่น สูง และ ต่ำ หรือวัฒนธรรมยอดนิยมเดิมๆ ในการเลือกใช้วัสดุในการผลิตงานศิลปะ และวิธีการนำเสนอ การเผยแพร่ และการบริโภคของงานศิลปะ

Postmodernism มีความคล้ายคลึงกันกับ modernism ตามความคิดที่เหมือนกันเหล่านี้คือ ปฏิเสธเส้นแบ่งระหว่างความสูง-ต่ำในรูปแบบของศิลปะ ปฏิเสธความแตกต่างในความเป็นศิลปวัตถุที่เคร่งครัด เน้นการหลอมรวมกับสิ่งที่คุ้นเคย กำมะลอ การแดกดัน และความขบขัน ในแง่ศิลปะ (และความคิด) ของ Postmodern มักไหลย้อนกลับและมีสำนึกของตนเอง เปราะบางและไม่ต่อเนื่อง (โดยเฉพาะโครงสร้างการบรรยายความ) ขัดแย้ง ในเวลาเดียวกัน และการเน้นรื้อเปลี่ยนโครงสร้าง ย้ายความเป็นศูนย์กลาง ตัดสิทธิ์ความเป็นประธาน
แต่..แม้ในความเป็น -postmodernism ดูเหมือนจะคล้ายกับ -modernism ในหลายเรื่อง ความแตกต่างกันอยู่ที่ทัศนะคติในเรื่องนั้นๆ ดังเช่น Modernism โน้มเอียงไปที่ความเปราะบางในแง่ที่เกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์และประวัติศาสตร์ (เช่นความคิดในงานประพันธ์เรื่อง The Wasteland ของ Woolf's To the Lighthouse) โดยเสนอว่า ความเปราะบางนั้นเป็นบางสิ่งที่เลวร้าย บางสิ่งที่เป็นความโทมนัสและเศร้าโศรกในความสูญเสีย งานของนักทันสมัย พยายามหยิบยกความคิดของงานศิลปะที่สนองความเป็นเอกภาพ ยึดเหนี่ยว และให้ความหมายในสิ่งที่สูญหายไปในชีวิตสมัยใหม่ ศิลปะจะสนองตอบในสิ่งที่สูญหายในสถาบันของความเป็นมนุษย์ Postmodernism ในทางกลับกัน ไม่เน้นความเปราะบางของโทมนัส สร้างทดแทน หรือไม่เกาะยึดไว้ แต่ค่อนไปทางเฉลิมฉลอง กระทำดังเช่นราวกับว่าโลกไร้ความหมาย? ไม่แสร้งทำให้ดูเหมือนว่าศิลปะสามารถให้ความหมายได้ กลับปล่อยให้เป็นเรื่องเล่นๆที่ไร้สาระ
อีกแง่ในการมองความสัมพันธ์ระหว่าง modernism และ postmodernism คือการช่วยให้เกิดความกระจ่างในความแตกต่างบางอย่าง ในทัศนะของ Frederic Jameson, modernism และ postmodernism เป็นการก่อรูปทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลัทธิความเป็นทุนนิยม Jameson อ้างสาระสำคัญของวลีสามอย่างของลัทธิทุนนิยม ที่กำหนดความประพฤติทางวัฒนธรรม (รวมศิลปะและวรรณกรรม) เป็นพิเศษคือ สาระแรก เกี่ยวกับตลาดทุนนิยม ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๘ จนถึงตลอดศตวรรษที่ ๑๙ ในยุโรปตะวันตก อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา (และปริมณฑลโดยรอบ) ในสาระแรกนี้รวมเอาการพัฒนาทางวิทยาการต่างๆ เช่น เครื่องจักร์ไอน้ำ และลักษณะของสุนทรีย์ศาสตร์พิเศษ ที่เรียกว่า ความจริงแท้ -realism. สาระที่สองเกิดต่อจากศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงศตวรรษที่ ๒๐ (ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) ในสาระนี้ การถือเอกสิทธิ์ของระบบทุนนิยม ด้วยการรวมตัวกันของเครื่องไฟฟ้าและพลังงานและกับความทันสมัย -modernism ในสาระที่สาม วลีของเขาคือว่า เราเดี๋ยวนี้คือนักบริโภคนานาชาติของระบบทุนนิยม (ที่เน้น การตลาด การขาย การบริโภคแบบรวมซื้อเพื่อขายต่อ ไม่ใช่เพื่อการผลิตก่อนแล้วขาย) รวมกันกับวิทยาการด้านนิวเคลียร์และไฟฟ้า และบรรณสานสัมพันธ์กันเป็น postmodernism ในเวลาเดียวกัน


ดังที่ Jameson บ่งชี้ลักษณะของ postmodernism ในแง่กรรมวิธีของการผลิตและเท็คโนโลยี ปัญหาของคำจำกัดความที่สองของ postmodernism ที่มีมาจากประวัติศาสตร์และสังคม มากกว่าวรรณกรรมหรือประวัติศาสตร์ศิลปะ แนวคิดนี้กำหนด postmodernism ในนามของการเข้าไปก่อรูปของสังคมทั้งหมด กำหนดทัศนะคติของสังคม/ประวัติศาสตร์ ที่ชัดเจน คือแนวคิดนี้ขัดแย้งกันในเชิง ระหว่าง "postmodernity" กับ "modernity" แทนที่จะเป็นระหว่าง "postmodernism" กับ "modernism."
อะไรคือความแตกต่าง? "Modernism" โดยทั่วไปอ้างถึงความเปลี่ยนแปลงทางสุนทรีย์ศาสตร์กว้างๆในศตวรรษที่ ๒๐ ขณะที่ "modernity" อ้างถึงรากฐานทางปรัชญา การเมือง และความคิดด้านจิรยะธรรม ซึ่งถือเป็นรากฐานของความคิดทางสุนทรีย์พื้นฐานของ modernism. "Modernity" มีความเก่าแก่กว่า "modernism" ในการอ้างถึงชื่อ "modern" ประการแรกกำหนดในสังคมวิทยาสมัยศตวรรษที่ ๑๙ หมายถึงความแตกต่างของยุคสมัยปัจจุบันกับยุคสมัยก่อนที่ผ่านมา ซึ่งให้ชื่อว่า "โบราณ-antiquity" นักวิชาการทั้งหลายมักโต้แย้งเมื่อยุค "modern" ที่แน่นอนเริ่มต้น และทำอย่างให้เกิดความแตกต่างระหว่างอะไรที่ทันสมัย และไม่ทันสมัย มันเลยดูเหมือนว่ายุคทันสมัยเริ่มต้นก่อนหน้า ที่นักประวัติศาสตร์จะมองเห็น แต่โดยทั่วไปแล้วยุคของ "modern" จะหมายรวมกันกับยุคพุทธิปัญญาของยุโรป -the European Enlightenment ซึ่งเริ่มคร่าวๆในกลางศตวรรษที่ ๑๘ (นักประวัติศาสตร์บางคนย้อนรอยของพุทธิปัญญานี้กลับไปในสมัยเรเนอร์ซองค์ -Renaissance หรือก่อนหน้านั้นเสียอีก และบางคนอาจเถียงว่าความคิดของสมัยพุทธปัญญานี้เริ่มต้นในศตวรรษที่ ๑๘ แต่สำหรับข้าพเจ้า (ผู้เขียนบทความนี้) มักกำหนดวันที่ของ "modern" จากปีค.ศ.1750 เพียงเพราะข้าพเจ้าจบการศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต จากโปรแกรมของมหาวิทยาลัย Stanford ที่ชื่อว่า "Modern Thought and Literature," โปรแกรมนี้เน้นที่งานวรรณกรรมหลังปีค.ศ. 1750).
รากฐานความคิดของพุทธิปัญญา -the Enlightenment โดยคร่าวๆ เป็นเช่นเดียวกับรากฐานความคิดของมนุษย์นิยม -


humanism บทความของ Jane Flax ให้ข้อสรุปรากฐานของความคิดเหล่านี้ ถือเป็นหลักฐาน (หน้า 41) โดยข้าพเจ้าจะเพิ่มเติมสองสามอย่างในรายการของเธอ

1. มีเสถียรภาพ ติดต่อกันเป็นเรื่องราว รู้ได้ด้วยตนเอง รู้ได้ในจิตสำนึกของตนเอง มีเหตุ-ผล เป็นอิสระ และครอบคลุมกว้างขวาง ไม่เพียงแค่เงื่อนไขทางกายภาพ หรือไม่มีผลกระทบความแตกต่างในเนื้อหาใจความ ที่ตนเองรับรู้ได้
2. การรู้โดยตนเอง และรู้โลกผ่านเหตุผล มีสติ ในสภาพของจิตใจที่ให้ประโยชน์สูงสุดตามภววิสัย
3. วิธีการรู้ เกิดจากวัตถุประสงค์ของความมีเหตุ-ผลแห่งตนที่เรียก "วิทยาศาสตร์" สามารถบ่งบอกความจริงสากลที่เกี่ยวข้องกับโลก โดยไม่ละเลยความเป็นปัจเจกภาพของผู้รู้
4. ความรู้เกิดจากวิทยาศาสตร์คือ "ความจริง" และไม่เป็นที่สิ้นสุด
5. ความรู้/ความจริง เกิดโดยวิทยาศาสตร์ (ด้วยการรู้วัตถุประสงค์อย่างมีเหตุ-ผลด้วยตนเอง) จะนำพาไปสู่ความก้าวหน้าและสมบูรณ์ ในทุกสถาบันและในการปฏิบัติของมนุษย์ สามารถวิเคราะห์ได้จากวิทยาศาสตร์ (ของวัตุประสงค์/เหตุผล) และปรับปรุงได้เสมอ
6. เหตุผลคือ ผู้ตัดสินสูงสุดว่าอะไรเป็นความจริง อะไรที่ถูกต้อง และอะไรที่ดี (อะไรที่ถูกกฏหมายและอะไรที่มีคุณธรรม) อิสระภาพประกอบด้วยความเชื่อฟังในกฏเกณฑ์ที่ตรงกันกับความรู้ที่ค้นพบด้วยเหตุผล
7. ในโลกที่ปกครองด้วยเหตุผล ความจริงจะเป็นเช่นเดียวกับความดีและความถูกต้อง (และความงาม) จะไม่ขัดแย้งกันระหว่างอะไรเป็นความจริงกับอะไรเป็นความถูกต้อง (ฯลฯ)
8. วิทยาศาสตร์ เช่นนี้..ถือเป็นกระบวนทัศน์ (paradigm) ที่เป็นประโยชน์สำหรับความรู้ต่างๆของสังคม วิทยาศาสตร์เป็นกลางและเป็นภววิสัย นักวิทยาศาสตร์ผู้ผลิตความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ด้วยความสามารถที่ไม่มีอคติ ต้องมีอิสระในการเจริญรอยตามหลักเกณฑ์ของเหตุผล ไม่ถูกชักจูงด้วยสิ่งอื่น (เช่น เงินหรืออำนาจ)
9. ภาษา หรือวิธีการแสดงออก ใช้ประโยชน์ในการนำเสนอและเผยแพร่ความรู้ ต้องมีเหตุ-ผลด้วย การมีสติในเหตุ-ผลนั้น ภาษาต้องโปร่งใส ใช้ประโยชน์เพื่อแทนโลกที่รับรู้จริงๆด้วยการสังเกตุของจิตใจที่มีสติสัมปชัญญะ ต้องมั่นคงและเป็นภววิสัยเชื่อมวัตถุที่รับรู้กับโลกเข้าด้วยกันด้วยบัญญัติ (ระหว่างสัญลักษณ์และผู้กำหนด)
มีบางหลักฐานที่เป็นบรรทัดฐานของความเป็นมนุษย์ หรือของความทันสมัย- modernism ซึ่งมันช่วยในการบอกกล่าว ตัดสินและอธิบายโครงสร้างสังคมและสถาบันได้อย่างแท้จริง รวมทั้งประชาธิปไตย กฏหมาย วิทยาศาสตร์ จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์
Modernity คือมูลฐานหนึ่งของระเบียบ (order) เกี่ยวกับสติสัมปชัญญะและความมีเหตุ-ผล ระเบียบของการสร้างสรรค์ให้พ้นจากความหายนะ ข้อสันนิษฐานหนึ่งคือว่า การสร้างสรรค์ที่มีเหตุ-ผล จะนำไปสู่การสร้างสรรค์ที่มีระเบียบมากกว่า สร้างสังคมให้มีระเบียบมากกว่า ให้ประโยชน์มากกว่า (มีเหตุ-ผลมากก็จะเป็นประโยชน์มาก) เพราะว่า -modernity จะนำไปสู่การเพิ่มระดับของระเบียบ เป็นสังคมทันสมัย เป็นเกราะป้องกัน "ความไร้ระเบียบ" ที่จะทำลายความเป็นระเบียบ ด้วยเหตุนี้ สังคมทันสมัยจึงขึ้นอยู่กับการสร้างเสริมอย่างต่อเนื่องของสองขั้วระหว่าง "ระเบียบ" และ "ไร้ระเบียบ" เพื่อที่เขาจะรักษา "ระเบียบ" ให้เหนือกว่าอยู่เสมอ แต่การจะกระทำได้ดังนี้ เขาต้องมีสิ่งที่เป็นตัวแทนของความ "ไร้ระเบียบ" สังคมทันสมัยจึงต้องมีการสร้าง/เสริม ความ "ไร้ระเบียบ" ในสังคมตะวันตก ความไร้ระเบียบกลายเป็น "สิ่งอื่น" ที่กำหนดความสัมพันธ์กับสองขั้วตรงข้ามอื่นๆ ฉะนั้น บางสิ่งไม่ขาว ไม่ชาย ไม่แตกต่างทางเพศ ไม่สะอาดบริสุทธิ์ ไม่เป็นเหตุ-ผล (ฯลฯ) กลายเป็นส่วนของความ "ไร้ระเบียบ" และต้องกำจัดออกไปเสียจากสังคมที่มีระเบียบ สำหรับสังคมที่ทันสมัยและมีเหตุ-ผล


วิถีทางต่างๆที่สังคมทันสมัยดำเนินการจำแนกตราประทับ "ระเบียบ" และ "ไร้ระเบียบ" คือจะต้องพยายามรักษาความสมดุลป์ Francois Lyotard (นักทฤษฎีเช่นเดียวกับ Sarup ซึ่งพรรณาในบทความ-postmodernism ของเขา) จัดความสมดุลป์ด้วยความคิดของ "โมกขบริสุทธิ์-รวมยอด-totality" หรือระบบรวมยอด-totalized system (ตรงนี้ควรนึกถึงความคิดของ Derrida's idea of "totality" เช่นเดียวกับ องค์รวมหรือความสัมบูรณ์ของกระบวนระบบ) การรวมยอด และความสมดุลป์ และระเบียบ Lyotard แย้งถึงการคงไว้ในสังคมทันสมัยผ่านขบวนการของ "การบรรยายโวหารที่กว้างขวาง-grand narratives" หรือ "สร้างโวหารที่ครอบงำ-master narratives," ซึ่งเป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่บอกเล่าตัวเองถึงการปฏิบัติและความเชื่อ "การบรรยายโวหารที่กว้างขวาง" ในวัฒนธรรมอเมริกัน อาจเป็นเรื่องราวของประชาธิปไตย คือพุทธิปัญญา (อย่างมีเหตุ-ผล) ถือเป็นรูปแบบของรัฐบาล และระบอบประชาธิปไตยจะนำพาความผาสุขให้กับมนุษย์ทั้งมวล ทุกกระบวนระบบของความเชื่อและความคิดฝันมีการบรรยายโวหารที่กว้างขวาง ในทัศนะของ Lyotard ดังตัวอย่างเช่น ลัทธิมาร์ก โวหารที่กว้างขวาง คือความคิดที่ว่าลัทธิทุนนิยมจะพินาศด้วยตัวของมันเอง และสังคมแบบยูโทเปียจะอุบัติขึ้นแทน ท่านอาจคิดถึงโวหารที่กว้างขวางนี้ เป็นดังเช่นทฤษฎียิ่งใหญ่-meta-theory หรือความคิดฝันที่ยิ่งใหญ่-meta-ideology นั่นคือความคิดฝันที่อธิบายสู่ความคิดฝันอีกอันหนึ่ง (ดังเช่นลัทธิมาร์ก) เป็นเรื่องราวที่ถูกบอกกล่าวเพื่ออธิบายกระบวนระบบของความเชื่อที่ยังคงอยู่





Lyotard แย้งว่ารูปการทั้งหมดของสังคมทันสมัย รวมถึงวิทยาศาสตร์อันเป็นรูปแบบสำคัญของความรู้ ขึ้นอยู่กับโวหารที่กว้างขวาง Postmodernism จึงเป็นบทวิจารณ์ของโวหารที่กว้างขวาง ความเอาใจใส่ต่อโวหารทั้งหลายที่ใช้เป็นเหมือนหน้ากากปิดบังความขัดแย้งและความไร้สมดุลป์ ซึ่งฝังติดอยู่ในการจัดการและการปฏิบัติทางสังคม ในอีกนัย คือทุกความพยายามเพื่อสร้างสรรค์ "ระเบียบ" ต้องการสร้างจำนวนที่เท่าๆกันกับความ "ไร้ระเบียบ" อยู่เสมอ แต่โวหารที่กว้างขวางปิดบังการสร้างของการจำแนกเหล่านี้ โดยอธิบายว่า ความ "ไร้ระเบียบ" แท้จริงแล้ว คือหายนะ และความเลว และความมี "ระเบียบ" แท้จริงหรือความมีเหตุ-ผลและความดี Postmodernism ปฏิเสธโวหารที่กว้างขวางนี้ กลับชื่นชม "การบรรยายโวหารเล็กๆ-mini-narratives," คือเป็นเรื่องราวที่อธิบายการปฏิบัติขนาดย่อม เหตุการณ์ระดับท้องถิ่น แทนที่เป็นแนวคิดขนาดใหญ่ชนิดครอบจักรวาลเดิมๆทั้งหลาย Postmodern ในลักษณะของ "การบรรยายโวหารเล็กๆ" เป็นเช่นสถานการณ์ เป็นเช่นการเตรียมการ เป็นเช่นความไม่แน่นอน และเป็นการชั่วคราว เท่านั้น ไม่เรียกร้องความเป็นสากล ความจริง เหตุผล ความมั่นคง หรือเสถียรภาพใดๆเลย
บางรูปการของความคิดทางพุทธิปัญญา-ในเก้าข้อของข้าพเจ้า-คือความคิดเห็นที่ว่าภาษาคือความโปร่งใส คำ ถูกใช้เพื่อแทนความคิดและสรรพสิ่งทางวัตถุทั้งหลายเพื่อประโยชน์เท่านั้น สังคมทันสมัยขึ้นอยู่กับความคิดเห็นที่ผู้กำหนดชี้ไปที่สิ่งที่บัญญัติ และความเป็นจริงอาศัยกันกับสิ่งที่กำหนด ใน (สังคม)- postmodernism มีเพียงผู้กำหนดเท่านั้น ความคิดของเรื่องเสถียรภาพ หรือความจริงถาวรไม่ปรากฏในสิ่งที่กำหนดซึ่งชี้โดยผู้กำหนด สังคมหลังทันสมัยมีเพียงผิวเปลือก ปราศจากความลึก แค่เพียงผู้กำหนด ไม่ใช่สิ่งที่กำหนด


กล่าวอีกนัย ตามทัศนะของ Jean Baudrillard คือ ในสังคมหลังทันสมัย ไม่มีต้นแบบ มีเพียงสำเนา-หรืออะไรที่เขาเรียกว่า "จินตภาพของบางสิ่ง-simulacra" ท่านอาจเปรียบกันได้เช่น ภาพวาด หรือปฏิมากรรม ที่มีงานต้นฉบับ (เช่นงานของ Van Gogh เป็นต้น) ซึ่งอาจมีสำเนาเป็นพันๆ แต่ต้นฉบับมีเพียงหนึ่งที่มีคุณค่าสูง (โดยเฉพาะค่าของเงิน) ซึ่งตรงข้ามสิ้นเชิงกับงานที่ถูกบันทึกด้วยซีดีหรือการบันทึกเพลง ซึ่งไม่มี "ต้นฉบับ" ของมันดังเช่นงานภาพเขียน-ไม่มีการบันทึกไว้แขวนบนผนัง หรือเก็บไว้ในกรุ มีแต่เพียงแค่สำเนาเป็นร้อยๆที่เหมือนกันทั้งหมด และขายในราคา (โดยประมาณ) เดียวๆกัน อีกความหมายของ "simulacrum" Baudrillard หมายถึงแนวคิดของความเหมือนความจริง ความจริงที่เกิดจากการจำลอง ซึ่งไม่มีต้นฉบับ เช่นตามหลักฐานเฉพาะของเกมจำลองทางคอมพิวเตอร์-ในความคิดของ Sim City, Sim Ant ฯลฯ
ท้ายสุด -postmodernism เกี่ยวข้องกับคำถามการจัดการความรู้ ในสังคมทันสมัยที่ว่า ความรู้เทียบเท่าวิทยาศาสตร์ และตรงข้ามกับการบรรยายโวหาร วิทยาศาตร์เป็นความรู้ที่ดี และการบรรยายโวหารเป็นความรู้ที่เลว โบราณ และไม่มีเหตุ-ผล (อันรวมถึง ผู้หญิง เด็กๆ คนพื้นเมือง และคนป่วยทางจิต) อย่างไรก็ตาม ความรู้เป็นสิ่งดีในตัวมันเอง คนได้รับความรู้ผ่านทางการศึกษา เพื่อการเรียนรู้โดยทั่วไป จึงจะกลายเป็นผู้มีความรู้ นี่คือความคิดฝันของการศึกษาศิลปศาสตร์แบบเสรีนิยม ในสังคมหลังทันสมัย ความรู้ถือเป็นประโยชน์-ท่านเรียนสิ่งต่าง โดยอาจไม่รู้ แต่ใช้ประโยชน์มันได้ ตามที่ Sarup ชี้ไว้ (หน้า138) ว่า นโยบายการศึกษาปัจจุบันเน้นทักษะและการฝึกฝน มากกว่าความนึกคิดในแง่การศึกษาความเป็นมนุษย์ทั่วไป จึงมีคำกล่าวถามเฉพาะและรุนแรงในวิชาภาษาอังกฤษที่ว่า " ท่านจะทำอะไรกับปริญญาของท่าน?"
ไม่เพียงแต่ความรู้ในสังคมหลังทันสมัย ที่บ่งคุณลักษณะในประโยชน์ของมันเท่านั้น แต่ความรู้ยังเผยแพร่ เก็บรวมไว้ และแยกแยะความแตกต่างในสังคมหลังทันสมัยมากกว่าในสังคมทันสมัย โดยเฉพาะ การเกิดขึ้นของเท็คโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้ปฏิวัติวิธีการผลิตความรู้ การเผยแพร่ และการบริโภคในสังคมของเรา (จริงทีเดียวที่บางคนแย้งว่า-postmodernism คือการพรรณาที่ดีที่สุด และมีปฏิสัมพันธ์ จากการอุบัติขึ้นของเท็คโนโลยีคอมพิวเตอร์ เริ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1960s ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของชีวิตทุกรูปแบบในสังคม) ในสังคมหลังทันสมัย บางสิ่งไม่สามารถแปลความหมายไปสู่รูปแบบที่แสดงหรือเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์-ดังเช่น บางสิ่งไม่สามารถกำหนดเป็นตัวเลข-ที่กำหนดเป็นความรู้ได้ สำหรับกระบวนทัศน์นี้ สิ่งตรงข้ามของ "ความรู้" ไม่ใช่ "ความโง่เขลา" เหมือนเช่นในกระบวนทัศน์ของความเป็นมนุษย์/ความทันสมัย แต่เป็น "การประกาศโด่งดัง-noise" หรือ บางสิ่งซึ่งเทียบคุณภาพไม่ได้กับชนิดของความรู้ คือ "การประกาศโด่งดัง" เป็นบางอย่างซึ่งรับรองไม่ได้ เช่นเดียวกับบางสิ่งภายในระบบนี้


Lyotard กล่าว (ในสิ่งที่ Sarup ใช้เวลามากในการอธิบาย) ว่า คำถามที่สำคัญของสังคมหลังทันสมัย คือ ใคร?คือผู้ตัดสินว่าอะไรคือความรู้ (และอะไรคือ "การประกาศโด่งดัง-noise") และใคร?รู้ว่าอะไรคือความต้องการที่จะตัดสินว่า การตัดสินใจเกี่ยวกับความรู้นี้จะไม่เกี่ยวข้องกับคุณวุฒิ ของความสัมพันธ์เก่า ของความทันสมัย/ความเป็นมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การเข้าถึงความรู้คือความจริง (คุณภาพทางเทคนิคของมัน) หรือความดี หรือความยุติธรรม (คุณภาพทางจริยธรรมของมัน) หรือความงาม (คุณภาพทางสุนทรีย์ของมัน) ทดแทนการโต้แย้งของ Lyotard ในแง่ความรู้ที่ตามกระบวนทัศน์ของเกมทางภาษา ที่เริ่มไว้โดย Wittgenstein ซึ่งข้าพเจ้าจะไม่ลงในรายละเอียดในความคิดของเขาเกี่ยวกับเกมทางภาษา เพราะ Sarup เสนอการอธิบายที่ดีในแนวคิดนี้ไว้ในบทความของเขา ในสิ่งที่ท่านทั้งหลายอาจสนใจ
มีคำถามมากมายที่จะถามเกี่ยวกับ- postmodernism หนึ่งในความสำคัญคือ คำถามที่เกี่ยวกับความเกี่ยวข้องทางการเมือง-หรือง่ายๆ คือกระแสความคิดนำไปสู่ความเปราะบาง การเตรียมการ การปฏิบัติ และความไม่มั่นคงของบางอย่างที่ดี บางอย่างที่เลวของมัน ? ที่มีคำตอบที่หลากหลายเกี่ยวกับคำถามนี้ ในสังคมร่วมสมัยของเราทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม ความปรารถนาที่จะกลับไปสู่ยุคก่อน-หลังทันสมัย (ความทันสมัย/ความเป็นมนุษย์/ความคิดของยุคพุทธิปัญญา) เอนเอียงที่จะร่วมกันกับการเมือง การศาสนา และกับกลุ่มปรัชญาแบบอนุรักษ์นิยม อันที่จริง ข้อตกลงหนึ่งของ-postmodernism ดูเหมือนว่าเกิดจากศาสนาลัทธิต้นแบบ-religious fundamentalism ในรูปแบบการต่อต้าน การตั้งคำถามของ "การบรรยาโวหารกว้างขวาง" ของความจริงทางศาสนา สิ่งนี้บางที่เห็นได้ชัดแจ้ง (สำหรับพวกเราใน US, บางที) ในศาสนามุสลิมลัทธิต้นแบบในประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งประกาศห้ามหนังสือของยุคหลังทันสมัย-แบบของ Salman Rushdie's The Satanic Verses --เพราะเขาได้รื้อทิ้งโครงสร้างเช่นการบรรยายโวหารแบบกว้างขวางเดิม
การร่วมกันระหว่างการปฏิเสธ-postmodernism กับลัทธิอนุรักษ์นิยม-conservatism หรือลัทธิต้นแบบ-fundamentalism อาจอธิบายในส่วนที่ทำไม-postmodern ประกาศความเปราะบางและเพิ่มความเอนเอียงไปทางความเสรีและรุนแรงมากขึ้น นั่นคือ ทำไม นักทฤษฎีเพศหญิงสนใจ-postmodernism ดังเช่นที่ Sarup, Flax, และ Butler ทั้งหมดชี้ให้ปรากฏ


ในอีกความเห็น-postmodernism ดูเหมือนเสนอทางเลือกเพื่อเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมบริโภคนิยมของโลก ที่ซึ่งบรรษัทข้ามชาติ และรูปแบบของความรู้ ถูกเสนอให้เป็นพลังขับเคลื่อนที่ไกลกว่าพลังของปัจเจกชนที่จะควบคุมได้ ทางเลือกเหล่านี้ เน้นไปที่ความคิดของทุกการกระทำ (หรือการดิ้นรนทางสังคม) เน้นที่ความจำเป็นระดับท้องถิ่น ข้อจำกัด และการมีส่วนร่วม-แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยการล้มเลิกการบรรยายโวหารแบบกว้างขวาง (เหมือนความเสรีของชนชั้นแรงงานทุกชนชั้น) และกลับเน้นที่เป้าหมายในระดับท้องถิ่นโดยเฉพาะ (เช่น การปรับปรุงศูนย์ดูแลเด็กอ่อนของมารดาในชุมชนของเรา) การเมืองหลังทันสมัย เสนอวิถีทางทฤษฎีสถานการณ์ท้องถิ่นที่ลื่นไหลและคาดเดาไม่ได้ ผ่านการสนับสนุนแนวสากลทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ คำขวัญสำหรับนักการเมืองหลังทันสมัยอาจเป็นว่า "คิดแบบสากล แต่กระทำแบบท้องถิ่น-think globally, act locally"--และไม่ควรกังวลกับโครงการใหญ่หรือแผนแม่บทใดๆเลย


What is Postmodern?
คำถามคลาสสิกอีกคำ ที่ผู้รู้หลายๆ ท่านไม่ชอบตอบ คิดว่าคนที่รู้มากๆ จะรู้สึกว่าตอบสั้นๆ ไม่ได้ อย่างไรก็ดีผมคิดว่าจะลองถูไถดูอีกครับ หลังจากเซ็งกับคำถามนี้ไปเป็นปี
Postmodernism นั้นเบื้องต้นแล้วก็คือ การไปจาก (Departure from) Modernismซึ่งตรงนี้ชัดเจนว่าเราต้องรู้จัก Modernism ก่อน ถ้าเข้าใจลักษณะของ Modernism แล้ว เราพบว่าอะไรไปจากตรงนั้นมันก็เป็น Postหลักการง่ายๆ ครับ แต่ในทางปฏิบัตินี่ยุ่งน่าดูเลยเพราะ สภาวะของ Modernism ในหลายๆ อาณาบริเวณ (เช่น ศิลปะ, สถาปัตยกรรม, การเมือง, เศรษกิจ, ดนตรี, วรรณกรรม, ภาพยนตร์) นั้นมีลักษณะที่ต่างกันบ้างไม่มากก็น้อย


ตรงนี้ถึงที่สุดแล้วทำให้เราพูดถึง Modernism ในฐานะที่เป็นสิ่งที่มี Unity ได้ยากเหมือนกัน
ที่ยุ่งไปกว่านั้น Postmodern คือ การ Departure [ผมอ่านเขามาอีกทีผมว่าคำนี้เห็นภาพมาก] ไปจาก Modern อีกที ถ้าเราพูดถึง Modern แบบรวมๆ ได้ยากแล้ว เราจะพูดถึง Postmodern ในแบบรวมๆ ได้อย่างไร นี่คือปัญหาแรก


ปัญหาต่อมาคือ เรารู้ว่า Pomo คือการไปจาก Modern แต่เราไม่รู้ว่ามันไปไหน?ในแง่นี้แล้วลักษณะของ Pomo จึงมีหลากหลายมากๆ แต่มีลักษณะรวมๆ คือ ต่อต้าน Modern (ซึ่งบางที่จะมีความสับสนกับสิ่งที่เป็น Pre-Modern เช่นพวก New Age และ Fundamentalism ต่างๆ เพราะ มันเป็นสิ่งที่ต้อนต้าน Modern เหมือนกัน)ซึ่งในทุกๆ อาณาบริเวณก็จะมีลักษณะเช่นนั้น


ดังนั้นอย่าว่าแต่จะตอบว่า Postmodern โดยรวมๆ คืออะไรเลย Postmodern ในอาณาบริเวณหนึ่งๆ คืออะไรยังตอบยากเลย ถ้าจะไม่ตอบในเชิงนิเสธ


อย่างไรก็ดีความสับสนที่มากกว่านั้นก็จะเกิดขึ้นเมื่อมีคนพยายามเอา Characteristic ของ Postmodern ในอาณาบริเวณหนึ่งไปเข้าใจในอาณาบริเวณหนึ่ง (เช่นเอาลักษณะของ Postmodern ในวรรณกรรม ไปเข้าใจ Postmodern ในทางการเมือง เอา Postmodern ในทางปรัชญา ไปเข้าใจ Postmodern ในทางสถาปัตยกรรม) เพราะ ถึงที่สุดแล้วก็อย่างที่บอกว่ามันพูดได้ยากว่า Postmodern ในแต่ละอาณาบริเวณเหมือนกัน (เพราะ มันไม่เหมือนกันตั้งแต่ Modern แล้ว และ มันก็ไปจาก Modern ของมันได้สารพัดทิศทาง)
สิ่งเหล่านี้ทำให้มันงงไปกันใหญ่ ไปอ่านงานนักวิชาการใหญ่มันก็พูดถึง Postmodern ไปคนละทาง (ไม่เชื่อลองดูครับ มันงงจริงๆ)
แล้วเราจะเชื่อใคร?ผมคิดว่าหน้าที่ของผมคงจะไม่ใช่การชั่งว่าใครเชื่อได้มากกว่ากัน หน้าที่ผมตรงนี้คงจะเป็นการยืนยัน Fact ที่ว่ามันก็ไม่ได้มี ฉันทามติ (Consensus) ว่า Postmodern คืออะไรคิดว่าคงจะสร้างความเข้าใจและไม่เข้าใจเกี่ยวกับ Postmodern ได้มากขึ้น


สิ่งที่สำคัญมากๆ ก็คือ Postmodernism นั้นเป็น Concept ที่เกิดขึ้นและโตใน อังกฤษและอเมริกานะครับ เป็นประดิษฐกรรมทางวิชาการของวงการวิชาการ Anglo-American ในประเทศอย่างฝรั่งเศส (ที่พวกนี้มองว่าเป็นต้นตอของ Postmodern Philosophy) นั้นไม่มีการใช้คำว่า Postmodern นะครับ (อย่างไรก็ดีคิดว่าหลังๆ มีคนเริ่มบ้าจึ้ใช้ตามแล้ว)อย่างไรก็ดีผมก็คิดว่าการจะได้คำตอบว่าอะไรคือ Postmodern ก็ต้องกำหนดเกณฑ์ในการจัดว่าอะไรเป็น Postmodern มาสักอันก่อน (อย่างที่บอกว่ามันมีหลายเกณฑ์ที่น้ำหนักใกล้เคียงกัน) แบบนั้นน่าจะได้คำตอบแต่นั่นเองนั่นไม่ใช่การตอบว่างานชิ้นหนึ่งๆ เป็นหรือไม่เป็น Postmodern เฉยๆนั้นก็เป็นไปไม่ได้ สิ่งที่ทำได้ก็คือ การบอกว่า งานชิ้นหนึ่งๆ เป็นหรือไม่เป็น Postmodern ในกรอบแบบหนึ่งๆ มากกว่า


ลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะแบบ Particular ซึ่งก็ต่างจากลักษณะที่เป็น Universal อันเป็นลักษณะทั่วๆ ไปของ Modernism (แต่ก็อย่างว่าแหละมัน Abstract เกินกว่าจะกำหนดไปได้)
ตรงนี้จึงต้องกลับมาที่คำถามที่ว่า “Postmodern คืออะไร?”การถามเช่นนั้นมีนัยยะแบบ Universal (หรือเป็นการหาความเป็นสากลของ Postmodernism) ดังนั้นการตอบคำถามดังกล่าวจึงเป็นการดึง Postmodern กลับเข้าไปในความเข้าใจของ Modernคำถามดังกล่าวไม่สามารถตอบได้ในกรอบแบบ Postmodern หรือ อะไรก็ตามที่ต่อต้านลักษณะที่เป็นUniversalนี่เป็นบางเหตุผลที่ทำให้คนหลายๆ คนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น Postmodern ไม่ยอมตอบคำถามนี้ เพราะ การตอบนั้นก็เท่ากับติดกับดักของ Modernism นั่นเอง


ต่อด้วยเรื่องเล่าขำๆ ที่อาจทำให้เข้าใจความไม่เข้าใจมากขึ้น (เขียนเรื่องพวกนี้ต้องเขียนด้วยภาษาอย่างนี้ 555)ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็น Postmodern สำหรับในอาณาบริเวณทางวิชาการ ที่ซึ่งความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นระบบที่สุด… สิ่งที่สนุกกว่านั้นคือ เมื่อคำว่า Postmodern นั้นหลุดมานอกวงวิชาการ
เมื่อมันหลุดมาปุ๊ป สิ่งที่ยุ่งเหยิงวุ่นวายอยู่แล้วก็ยิ่งไปกันใหญ่ Postmodern กลายเป็นสิ่งที่ Fashionable ที่จะพูดถึง (จริงๆ ในวงวิชาการก็เป็น แต่มันยังมีคนคุมคุณภาพและความ Precise ในการใช่อยู่)
เมื่อนักวิจารณ์ในหลายๆ แขนงใช้มันก็ยิ่งไปกันใหญ่ ในหลายๆ ครั้งนักวิจารณ์พอเห็นอะไรแปลกๆ หน่อย ก็เรียกแล้วว่า Postmodern (ซึ่งในหลายๆ ครั้งนั้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยซ้ำว่าทำไมมันเป็น - ซึ่งถ้าเป็นในวงวิชาการแล้วการทำอย่างนี้โดนอัดยับแน่) คนอ่านบทวิจารณ์ก็เริ่มปะป้ายว่างานชิ้นนั้นเป็น Postmodern และก็พยายามเข้าใจว่าทำไมมันเป็นโดยพิจารณาลักษณะของงานชิ้นนั้นด้วยตัวเขาเอง สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ มันมีความเข้าใจ Postmodern ในแบบของเขาขึ้นมา และในหลายๆ ครั้งคนเหล่านี้ก็เติบโตไปเป็นนักวิจารณ์และกระบวนการก็ดำเนินไปเรื่อยๆ …ที่ยุ่งอีกก็คือ ในหลายๆ ครั้งไม่เพียงสิ่งที่ดูแปลกๆ จะถูกหาว่าเป็น Postmodern (โดยไม่ต้องอธิบายให้เป็นระบบ) สิ่งที่ธรรมดามากๆ ก็ถูกหาว่าเป็น (จริงๆ ตรรกะทำนองนี้ก็พบได้ในนักทฤษฎีเกี่ยวกับ Postmodern บางส่วน แต่แน่นอนสิ่งเหล่านีก็ไม่ใช่ฉันทามติ และไม่ Apply กับทุกอาณาบริเวณ)จนในที่สุดอะไรๆ ก็กลายเป็น Postmodern ไปหมด
ดังที่มีนักคิดสักท่าน (คิดว่าเป็น Umberto Eco) กล่าวว่า “สักวัน Homer ก็จะกลายเป็น Postmodernism


Post-modern: มองหลังสมัยใหม่ สังคม คน ความคิด
หลังทศวรรษที่ 1960 เรื่อยมา เป็นช่วงเวลาแห่งการเริ่มก่อร่างกระแสความคิดแบบยุคหลังสมัยใหม่ (Post-modern) ที่ยังไม่ชัดเจนนัก หากแต่เป็นกระแสที่เน้นการวิพากษ์และตั้งคำถามต่อแนวคิดภาวะทันสมัยที่ยังคงเป็นกระแสหลักของการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่กระนั้นก็มีแนวคิดอื่นๆ เกิดขึ้นมาในช่วงนี้ อาทิ แนวคิดทฤษฎีระบบโลก World System Theory ที่ให้ความสนใจกับระบบและความสัมพันธ์ในการพึ่งพาอาศัยกันและกัน(Interdependency) ในช่วงยุคนี้จะมีการเกิดองค์กรระหว่างประเทศขึ้นมากมาย เกิด Good governance รวมไปถึงแนวคิดปรากฏการณ์นิยม ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงยุคได้รับอิทธิพลจากแนวคิดวิทยาศาสตร์ของไอสไตน์ในเรื่องสัมพันธภาพนิยม (Relativitism)
อิทธิพลของแนวคิดดังกล่าวข้างต้นได้มีส่วนในการก่อเกิดแนวคิดใหม่ๆ หรือที่เรียกกว่า กระแสแนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ที่วิพากษ์ถึงกระบวนทัศน์ "การพัฒนา" ว่าได้ก้าวสู่จุดจบของ "สังคมสมัยใหม่" (modern sociality) หรือมองว่า "สังคมอุดมคติ" (utopia) ของกลุ่มสังคมนิยมเป็นเรื่องที่ไม่เป็นจริง แต่ถึงกระนั้นแนวคิดหลังยุคสมัยใหม่ก็ได้กล่าวถึงเรื่องของการพัฒนาว่า ผลของความเป็นสมัยใหม่จาก "การพัฒนา" ได้สร้างสถาบันทั้งหลายที่เกี่ยวกับระเบียบวินัยขึ้นมา ปฏิบัติการต่างๆ และวาทกรรมหลายหลากที่ทำให้วิธีการต่างๆ ของมันในการครอบงำและบังคับควบคุมเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่สำหรับนักหลังสมัยใหม่มันคืออำนาจและมายา แต่กระนั้นกระแสแนวคิดใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมิใช่เพียงวิพากษ์สังคมยุคทันสมัยนิยมเท่านั้น หากแต่ยังสนใจต่อสังคมยุคที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา รวมถึงสังคมในปัจจุบัน ที่อาจเรียกรวมว่า "สังคมหลังยุคทันสมัย" หรือ "สังคมหลังยุคสมัยใหม่" อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกระแสความสนใจต่อการศึกษาแนวคิดหลังสมัยใหม่นั้นมีมาก และมักจะตีความหรือเข้าใจว่าแนวคิดดังกล่าวหลากหลายจนไร้จุดยืน งานเขียนชิ้นนี้จึงพยายามประมวลความคิดที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้ผู้สนใจได้มองหลังสมัยใหม่อย่างรอบด้านยิ่งขึ้น โดยงานเขียนนี้ได้เสนอว่า กระบวนทัศน์หลังสมัยใหม่นั้น มองสังคม คน อย่างไร? ใครคือผู้นำทางความคิด และหลักการหรือแนวคิดสำคัญๆ ที่มีอิทธิพลต่อวงการแนวคิดหลังสมัยใหม่ตัวอย่างใดบ้าง เพื่อเป็นแนวทางการทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ต่อๆ ไป

1) สังคมหลังยุคสมัยใหม่ ยุคหลังสมัยใหม่กำลังก้าวเข้ามาแทนที่ยุคสมัยใหม่อย่างท้าทาย ด้วยนัยแห่งการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม อาทิ จันทนี เจริญศรี กล่าวว่า (2544 : 1) - ลักษณะทางเศรษฐกิจที่ก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจแบบบริโภคนิยมมวลชน (mass consumerism) ความเป็นยุคทุนนิยมตอนปลาย (late capitalism) ( Bell, 1976) - ลักษณะการผลิตเป็นแบบหลังอุตสาหกรรม (post-industrial) ความเป็นสังคมข่าวสาร สังคมที่ประกอบขึ้นจากการจำลอง (simulation) (Bogard ,1992) - ลักษณะล้ำความจริง (hyperreality) การยุบตัว (implosion) รวมถึงรูปแบบใหม่ทางเทคโนโลยีและวัฒนธรรม เป็นยุคที่สื่ออีเลคโทนิคส์ซึ่งสามารถตัดข้ามผ่านพื้นที่ทางกายภาพจะเข้ามาแทนที่ "ชุมชน" อันจะทำให้แนวคิดเรื่องสังคมจะกลายเป็นเพียงภาพลวงตา (Bogard ,1992) บรรดานักทฤษฎีเกี่ยวกับความเป็น postmodern เช่น Baudrillard, Lyotard, Harvey, ฯลฯ ให้เหตุผลว่า เทคโนโลยีต่างๆ อย่างเช่น คอมพิวเตอร์และสื่อ รูปแบบใหม่ของความรู้ และการเปลี่ยนแปลงในระบบสังคมเศรษฐกิจต่างๆ กำลังสร้างรูปแบบทางสังคมหลังสมัยใหม่อันหนึ่งขึ้นมา Baudrillard และ Lyotard ได้ตีความพัฒนาการต่างๆ เหล่านี้ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงในแบบฉบับที่แปลกใหม่ของข้อมูล ความรู้และเทคโนโลยี ขณะที่บรรดานักทฤษฎีนีโอ-มาร์กซิสท์ทั้งหลาย อย่าง Jameson และ Harvey ได้ตีความ postmodern ในเทอมต่างๆ ของพัฒนาการเกี่ยวกับขั้นตอนที่สูงกว่าของลัทธิทุนนิยม (higher stage of capitalism) ซึ่งมันได้รับการทำเครื่องหมายขึ้นมาโดยการแทรกซึมของทุนในระดับที่สูงขึ้น และการทำให้เป็นเนื้อเดียวกันข้ามโลก (สมเกียรติ ตั้งนโม, 2544) พร้อมกับอ้างความถูกต้องชอบธรรมในเรื่องการทำให้เกิดความก้าวหน้าในเรื่องเสรีภาพของปัจเจก เพราะสิ่งเหล่านี้ มัน "เป็นจริง" ขึ้นมาได้โดยผ่าน "ตลาด" นับแต่ที่มันได้รับการพิสูจน์ในทันทีโดยการมีส่วนร่วมในบรรทัดฐานแห่งความสำเร็จเพียงลำพังของมันกับเทคโนโลยี ซึ่งกลายเป็นวิถีเกี่ยวกับการผลิตความรู้ ข้อมูลข่าวสารและอำนาจ (ดู :ลัทธิหลังสมัยใหม่และพื้นที่ทางการเมือง) กระบวนการต่างๆ เหล่านี้กำลังสร้างการแตกตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยทางวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นด้วย รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในประสบการณ์เกี่ยวกับพื้นที่ว่าง เวลา และลักษณะใหม่ๆ ของประสบการณ์ ความเป็นตัวตน และวัฒนธรรม ซึ่งเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ได้ให้พื้นฐานสังคมเศรษฐกิจและรากฐานทางวัฒนธรรมสำหรับทฤษฎีหลังสมัยใหม่ และการวิเคราะห์ของมันได้ให้มุมมองและทัศนียภาพต่างๆ จากสิ่งซึ่งทฤษฎีหลังสมัยใหม่สามารถอ้างได้ว่า อยู่บนแถวหน้าสุดของพัฒนาการร่วมสมัย (สมเกียรติ ตั้งนโม, 2544) ดังนั้นการเสนอแนวคิดเรื่องวาทกรรม (discourse) การวิเคราะห์วาทกรรม (analysis discourse) ของ Foucault แนวคิดเรื่องเกมส์ของ Lyotard หรือแนวคิด "อนุพรรณา" ของ Rorty ฯลฯ จึงมีอิทธิพลต่อมุมมองสังคม รัฐ และคนในยุคหลังสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม สังคมหลังสมัยใหม่ในทัศนะของ Foucault คือสังคมที่เต็มไปด้วยการช่วงชิงอำนาจ ซึ่งอำนาจมีอยู่ทุกหนทุกแห่งเปรียบเสมือนเครือข่ายที่โยงใยกัน หากแต่มีระดับอำนาจหรือคุณภาพที่ต่างกันตั้งแต่ระดับผู้นำจนถึงผู้ตาม เมื่อใครมีอำนาจก็จะต้องได้รับการท้าทายและเมื่อผู้ท้าทายได้อำนาจแล้วก็จะมีผู้ท้าทายขึ้นมาใหม่ ดังนั้นสังคมอุดมคติตามแนวคิดของ Foucault คือ "ส่วนขยายของสังคมปัจจุบัน" การใช้เทคนิคความรู้ในการจัดการสรรพสิ่งต่างๆ ในรัฐนั้น จำเป็นต้องพึ่งพาบุคคลที่เคยมีประสบการณ์มาก่อน จึงทำให้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะต้องใช้บุคลากรที่มีประสบการณ์จากการบริหารรัฐเก่า การนำเอาบุคคลเหล่านี้มาใช้ในการบริหารรัฐนั้นเท่ากับเป็นการสืบทอดคุณสมบัติของสังคมเก่านั่นเอง ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ Foucault มิได้นำเสนอสังคมอุดมคติแบบ Utopia หรือหาทางออกให้กับสังคม ดังนั้นเทคนิคและยุทธวิธีของการจัดการ/ใช้อำนาจของสังคมแบบสมัยใหม่ ที่ผู้นำเป็นผู้ชี้เป็นชี้ตายหรือสร้างความอยู่ดีมีสุขให้ประชาชนนั้น จึงไม่เพียงพอ จำเป็นจะต้องใช้อำนาจที่มีอยู่ดั้งเดิมแล้วตามท้องถิ่น มาเป็นส่วนที่จะช่วยทำให้เครือข่ายของอำนาจสมบูรณ์ขึ้น (จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร, 2546) เช่น อำนาจของชาวบ้าน อำนาจของโรงเรียน อำนาจของชาวนา เป็นต้น การมองว่าสังคมแต่ละสังคมนั้นๆ มีความหลากหลาย ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำให้ต้องเป็นเอกภาพหรือส่วนรวมเหมือนกันทั้งโลก (unity) Foucault จึงเน้นความสำคัญของอำนาจที่มีอยู่/เกิดขึ้นตาม "ชายขอบ" ด้วย ซึ่งเป็นคนละเรื่องการกระจายอำนาจไปสู่ชายขอบ ของแนวคิดแบบพหุนิยมของนักรัฐศาสตร์ที่ท้ายที่สุดจะกลับมาสู่การรวมศูนย์ (recentralized) อย่างไรก็ตาม Foucault ก็ยังเห็นว่า แม้อำนาจจะมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่อำนาจก็จะถูกท้าทายจากกลุ่มต่างๆ ที่นับวันจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น เช่น กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ กลุ่มผู้หญิง ฯลฯ ด้วย นอกเหนือจาก Foucault แล้ว นักหลังสมัยใหม่นิยมหลายท่านยังได้เสนอภาพของสังคมหลังสมัยใหม่ไว้ต่างๆ นานา ซึ่งทัศนะของ Lyotard ลักษณะของสังคมที่พึงประสงค์อาจเป็นสังคมระดับเล็ก ที่มีเรื่องเล่าในระดับแคบ (litter narrative) ที่สามารถปรับตัวเปลี่ยนแปลงได้โดยอาศัยความรู้เฉพาะท้องถิ่น นอกจากนี้แล้วยังมองว่า ชุมชนไม่มีเอกภาพ มีแต่ความหลากหลาย (Roseanau,1992 อ้างถึงใน จันทนี เจริญศรี, 2544) แนวคิดหลังสมัยใหม่ยังเน้นเรื่องความแตกต่าง (difference) และการสร้าง "อัตลักษณ์" (identity) ตามแต่ถิ่นที่ด้วย

2) มนุษย์/บุคคลในหลังยุคสมัยใหม่ แนวคิดเกี่ยวกับ "คน" หรือมนุษย์ในสังคมหลังสมัยใหม่ นั้นมีมุมมองที่เปลี่ยนไป อันเนื่องมาจากฐานคิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังผ่านสมัยใหม่ นับตั้งแต่ประเด็นที่มองว่า ประธาน น ปัจเจกชน : เมื่อประธาน (subject) เป็นเพียงภาพลวงตา นักคิดหลังสมัยใหม่จึงได้เสนอภาพของปัจเจกชนขึ้นมา ซึ่งนักคิด postmodern ต่างก็มีจุดยืนในเรื่องปัจเจกชนใน 2 รูปแบบ โดย 1) นักคิดแบบสุดขั้ว เห็นว่า ปัจเจกชนหลังสมัยใหม่คือผู้ที่มีชีวิตอยู่โดยเป็นบุคคลนิรนาม ไม่มีผลต่อเหตุการณ์ ไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์ ไม่มีความเป็นองค์ประธานใดๆ ทั้งสิ้น เพราะประธานคือผู้กระทำแต่ฝ่ายเดียวที่จำเป็นต้องมีกรรม (object) รองรับ ดังนั้นปัจเจกชนจึงเป็นเรื่องตรงข้าม (จันทนี เจริญศรี, 2544 : 50) ปัจเจกชนแบบหลังสมัยเป็นคนที่หยืดหยุ่น ให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึกภายใน สร้างความเป็นจริงทางสังคมแบบของตัวเองขึ้น หาความหมายให้กับตัวเอง แต่ถือความเห็นส่วนตัว ไม่อ้างว่าความคิดตนคือสัจจะ อยู่กับปัจจุบัน ไม่วางแผนอนาคต ไม่ยึดติดไม่ผูกพันกับความคิดเก่าๆ 2) แนวคิดที่ประนีประนอม มองว่า ปัจเจกชนมีอำนาจ และพยายามฟื้นความสำคัญของประธาน (subject) ในฐานะผู้กระทำทางสังคม (social agent) เพื่อเสริมอำนาจ (empower) ให้กับกลุ่มคนชายขอบ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวทางสังคมที่เป็นไปได้ ปัจเจกบุคคลจึงไม่มีลักษณะที่เป็น logocentric หรือมีบุคลิกภาพเดียว แต่ต้องมีลักษณะแยกแตก (decenter) องค์ประธานที่ฟื้นคืนชีพนี้จึงเป็นผู้ที่พยายามแสวงหาอิสรภาพแห่งตน พยายามสร้างอัตลักษณ์ใหม่ให้ตนเอง เป็นนักเคลื่อนไหวที่มุ่งประกาศอิสรภาพจากกฎสากลและกฏของชุมชน เป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิตนเองเป็นสำคัญ (จันทนี เจริญศรี, 2544 : 52) "ใครใหญ่?" : จากยุคสมัยใหม่ที่เน้นฝรั่งผิวขาวหรือคนตะวันตกเป็นผู้นำของโลก หรือเป็นผู้ประกาศวาทกรรมการพัฒนาที่ถือเป็นความจริงแท้เที่ยงธรรมที่สุดอันปฏิเสธไม่ได้เลยนั้น กลุ่มนักหลังสมัยใหม่กลับมองต่างขั้วในเรื่องนี้ และปฏิเสธความเชื่อดังกล่าวโดยพวกเขาบอกว่า ethnic group หรือชนกลุ่มน้อยที่เป็นรองในสังคม พวก minority หรือใครก็แล้วแต่ที่เคยด้อยกว่าในยุค modern นั้น สามารถที่จะประกาศวาทกรรมของตนได้เช่นเดียวกัน สามารถที่จะสร้าง "discourse" ของตนเองได้เช่นเดียวกันเหมือนกับคนผิวขาวหรือคนตะวันตก (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543) อันหมายความว่าคนตะวันตกที่ถือว่าตนทันสมัยนั้น หรือ "ใหญ่กว่า" "ดีกว่า" อาจไม่ได้เป็นหนึ่งหรือเจริญไปกว่าชาติใด การพยายามสร้างวาทกรรมเพื่อแย่งชิงอำนาจและครอบครองความเป็นใหญ่ในทุกด้าน การสร้างความมีตัวตนเรื่อง "the modern man" หรือ "the mature man" จึงถูกหักล้างด้วยวิธีคิดแบบหลังสมัยใหม่ที่มองต่างขั้วไปดังที่กล่าวไป

"ชาย = หญิง" : ในยุคสมัยใหม่ได้สืบทอดความคิดเรื่องผู้ชายเป็นใหญ่กว่าผู้หญิงมาตามลำดับ แต่ในหลังสมัยใหม่กลับไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ บอกว่าผู้หญิงมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชาย ผู้หญิงก็มีวาทกรรมของตนเอง ไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่ผู้ชายเป็นฝ่ายกำหนด โดยเฉพาะโครงสร้างทางสังคม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ออกมา ผู้หญิงเป็นเบี้ยล่างมาโดยตลอด เช่น การใช้นามสกุลของผู้ชายหลังแต่งงานก็ดี กฎหมายเกี่ยวกับเรื่องชู้สาวก็ดี รวมไปถึงเรื่องของการจัดการด้านทรัพย์สิน และกระทั่งความไม่เท่าเทียมในเรื่องของการประกอบอาชีพและค่าแรง จะเห็นถึงความไม่เสมอภาคกันเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน (สมเกียรติ ตั้งนโม และคณะ, 2545) "ปัญญาชน / ปุถุชน" : หลังยุคสมัยใหม่ได้โต้แย้งทัศนะที่มองว่ากลุ่ม "ปัญญาชน" (technocrat) หรือผู้เชี่ยวชาญ (technician) ที่มีอำนาจอยู่เหนือปุถุชนธรรมดา (person) แท้จริงแล้วเป็นเพียงอะไรบางอย่างที่อยากจะเป็นผู้กำหนดชะตากรรมมนุษย์ ซึ่งทำให้ปัญญาชนสร้างภาพลวงตาและความหลงใหลในการ "ปลดปล่อย" มนุษย์ขึ้นมา (Richard Rorty,1998 : 230) ปัญญาชนพยายามสร้างภาพและจินตนการ บนเรื่องเล่าอภิพรรรณา(grand narrative) และอ้างสร้างความชอบธรรมบนตรรกะเหตุผลหรือวิธีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะสร้างขบวนการทางการเมืองที่ใหญ่โตขึ้น
3) ผู้นำความคิดหลังยุคสมัยใหม่ บรรดาผู้ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ postmodern ได้วิพากษ์วัฒนธรรม ทฤษฎี และการเมืองแนวขนบจารีตอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันพวกที่ให้การปกป้องเกี่ยวกับขนบประเพณีแบบ modern ก็ตอบโต้ด้วยการเมินเฉยหรือทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ต่อพวกที่ท้าทายใหม่ๆ และมีการโจมตีพวกดังกล่าวด้วย นอกจากนี้บางคนก็มีปฏิกริยาตอบโต้ด้วยการพยายามที่จะเรียนรู้เรื่องราวของpostmodern ด้วยความยากลำบาก และแย่งชิงวาทกรรมใหม่ๆ และฐานะตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้เอาไว้. อย่างไรก็ตาม มีนักคิดจำนวนไม่น้อยได้ให้มุมมองต่อยุคหลังสมัยใหม่ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดหลังสมัยใหม่อย่างมาก และได้เสนอแนวคิดทฤษฎีตลอดจนวิธีวิทยาของหลังยุคสมัยใหม่ที่น่าสนใจเอาไว้

ข้อมูลทั้งหมดในเว็บนี้ เป็นข้อเขียนและสัมบัติของ Dr. Mary Klages, Associate Professor, English Department, University of Colorado, Boulder. ยินดีให้ทุกท่านอ้างคำกล่าวในบทความนี้ หรือเชื่อมโยงกับเว็บของท่าน กับด้วยสำนึกในการเผยแพร่ที่สมควรและเหมาะสม สำหรับข้อมูลที่อ้างไว้ในบทความนี้ สามารถค้นหาได้ที่ English 2010 Home Page
ปรับปรุงสุดท้ายเมื่อ: December 3, 1997สำหรับข้อวิจารณ์หรือเสนอแนะ ติดต่อไปที่ Professor Mary Klages Return to English 2010 Home Page
อ่านเพิ่มเติม....
แนวคิดของ Lyotard และคนดังหลังสมัยใหม่( ลัทธิหลังสมัยใหม่และปรัชญา : Postmodernism and Philosophy : Stuart Sim)แปลและเรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปรัชญา
http://www.geocities.com/miduniv888/newpage3.html
… another socio-cultural space for non anti-relativism
But,… Whose Pseudo Hegelian Dialectic is it anyway?
What is Postmodernism? (For Those Who Still Not Sick of The Question)
เมษายน 6, 2007










395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย
395 Years Pinto’s Pérégrinação : an Account of Historiography or Adventurous Novel
พิทยะ ศรีวัฒนสา

[1] Bidya Sriwattanasarn
บทคัดย่อ
บันทึกความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโต( Fernão Mendez Pinto ค.ศ.1509-1583) เรื่อง “Pérégrinação”ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ.1614 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งอัตชีวประวัติของเขาอย่างน่าตื่นเต้นและเหลือเชื่อ จนมีการใช้ชื่อของปินโตเล่นคำเชิงล้อเลียนว่าพูดจริงหรือเท็จอย่างสนุกสนานโดยชนชาติศัตรูของโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน บันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาจนปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงบทบาทของทหารรักษาพระองค์ชาวโปรตุเกส และการพระราชทานที่ดินให้พวกเขาตั้งถิ่นฐานและปฏิบัติศาสนพิธีในสมัยอยุธยา จึงเป็นที่มาของการตรวจสอบว่าหนังสือฉบับนี้มีสถานะเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือเป็นเพียงนิยายผจญภัย
คำสำคัญ: แฟร์เนา เมนเดซ ปินโต , หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย , ทหารรักษาพระองค์ชาวโปรตุเกส, สมัยอยุธยา
S_bidya@hotmail.com
Abstract
Memoir of Fernão Mendez Pinto(1509-1583), “Pérégrinação”,1st published in 1614, informed us about contemporary environment, geography, history, culture, customs, traditions and events of the lands he visited, including with his exciting and unbelievable biography. This caused enemies of the Portuguese nation in Europe and even some one in Portugal, used his name so funny as a banter-pun. His memoir had been generally referred by Thai historians for long time since H.R.H. Prince Damrong up to the present day, concerning to issues of the role of the Portuguese royal bodyguard and the royal conferring land for them to be their settlement and to proceed their religious ritual in Ayutthaya Period. So, it was the main problem to examine that the book was a account of historiography or just an adventurous novel.
Key Words: Fernão Mendez Pinto, an account of historiography or an adventurous novel,Portuguese royal bodyguards, Ayutthaya period
S_bidya@hotmail.com
คำนำ
“Pérégrinação หรือ Pérégrinaçam” แปลว่า “long tour,long travels” ตรงกับคำว่า “Peregrination“ หรือ “Pilgrimage” หมายถึง การเดินทางการท่องเที่ยว หรือการเดินทางแสวงบุญ
เมื่อแบร์นารด์ ฟิกูอิเยร์(Bernard Figuier) แปลงานเขียนของปินโตเป็นภาษาฝรั่งเศสในค.ศ. 1628 เขาใช้ชื่อ ว่า “les voyages adventureux de fernando mendez pinto 1537-1558” และมีชื่อภาษาอังกฤษโดยการแปลของเฮนรี โคแกนว่า “The Voyages and Adventures of Fernand Mendez Pinto” (1653)
อย่างไรก็ดี นักประวัติศาสตร์และผู้อ่านจำนวนไม่น้อยกลับมีความสงสัยต่อความเก่งกล้าสามารถของปินโต บางคนประนามว่างานเขียนของเขาเป็นเรื่องโกหกเพื่อความมีชื่อเสียงของตน แม้แต่ชาวโปรตุเกสเองก็นำชื่อของเขาไปล้อเลียนว่า “ Fernâo , Mendez? Pinto!(Fernâo, do you lie?

[2] )” ทั้งๆที่ปินโตไม่เคยระบุว่า “Pérégrinação” เป็นนิยายประโลมโลก ( Fiction) แต่กลับบอกว่า บันทึกของเขาเปรียบเป็น “ตำรา”ในการสำรวจดินแดนและการเดินเรือไปยังดินแดนต่างๆในโลกตะวันออก ผู้เขียนจึงได้เสนอแนtทางศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของบันทึกฉบับนี้ประวัติของปินโต
ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Montemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา (Coinbre) ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา (Cue de Pedra) การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว (Diu) ในอินเดียในค.ศ.1538 ขณะมีอายุได้ 28 ปี เขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ (Tataria) โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน
ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา (missionary) เมื่อเดินทางกลับไปถึงโปรตุเกสในปีค.ศ.1558 เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตจึงไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปรากัลป์ (Pragal) ใกล้เมืองอัลมาดา (Almada) ทางใต้ของโปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação”ขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583
ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531 : 115) ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราชก่อนค.ศ.1548 ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1534-1546) นักประวัติศาสตร์บางคนนำหลักฐานของฝ่ายไทยเข้าไปตรวจสอบความน่าเชื่อถือในเอกสารของเขาหลายประเด็น และชี้ให้เห็นความคลาดเคลื่อนของศักราชที่เขาอ้างถึง
หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง “Pérégrinação” ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่ 1 (Philip I of Portugal,1581-1598 และทรงเป็นกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน - Philip II of Spain,1556-1598) ทรงได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดา
งานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส (1628) ภาษาอังกฤษ (1653) ใน ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ1537-1558” แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแพร่อีกครั้งใน ค.ศ.1988 โดยแปลจากหนังสือชื่อ “Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship”

รูปแบบการนำเสนอ
งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว บางตอนก็ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถามผู้รู้ อาทิ เหตุการณ์เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคต บางตอนก็ระบุว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์เดินทางเข้ามายังสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531: 115) เป็นต้น
ปินโตระบุว่า การเล่าเรื่องการเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลกให้มากยิ่งขึ้น มิได้มีจุดประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย เขาระบุว่าอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้ามิได้หวังชื่อเสียง สิ่งที่ผลักดันให้เขาเดินทางไปยังตะวันออก คือ ธรรมชาติของลูกผู้ชาย เขาแสดงความขอบคุณพระเจ้าและสวรรค์ที่ช่วยให้รอดพ้นจากภยันตรายมาได้(Henry Cogan, 1653 :1-2) ส่วนเฮนรี โคแกนระบุว่า จุดมุ่งหมายในการแปลหนังสือ“Pérégrinação” จากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ คือ ต้องการให้ผู้อ่านทั่วไปเกิดความพึงพอใจและกระตุ้นให้มีการสำรวจและค้นคว้าทางภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นบทเรียนให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเรืออับปาง เพื่อทัศนศึกษาดินแดนต่างๆในโลกกว้างและเพื่อเรียนรู้เรื่องราวของ“คนป่าเถื่อน”(Henry Cogan, 1653 : A-B)
จุดมุ่งหมายที่จริงจังของทั้งปินโตและโคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากร อารมณ์ ความรู้สึกและวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนที่ปรากฏในหนังสือ “Pérégrinação” อย่างไม่อาจมองข้ามได้ งานของปินโตจึงได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง อย่างน้อยๆฉบับแปลภาษาฝรั่งเศสในปีค.ศ.1628 ก็ถูกอ้างอิงโดยซิมอง เดอ ลาลูแบร์ (Simon de Laloubère) ซึ่งเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อกล่าวถึงจำนวนเรือที่เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยาก่อนหน้าการเข้ามาของตน (จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบูรณ์ เล่ม 1,2510 : 502) ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่าหากลาลูแบร์เคยได้ยินการเสียดสีงานเขียนของปินโตมาบ้างก่อนที่จะเดินทางเข้ามาสยาม เขาควรจะได้ตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานจากผู้รู้พื้นเมืองชาวสยามอีกครั้ง ก่อนจะตีพิมพ์งานเขียนของตนที่กรุงอัมสเตอร์ดัมในปีค.ศ.1714 เพราะงานเขียนของปินโตเคยถูกล้อเลียนมาแล้วอย่างอื้อฉาว แต่กลับไม่ปรากฏข้อวิพากษ์ความน่าเชื่อถือของปินโตในงานของลาลูแบร์

คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม
บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1543-1546) เมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ.1548 (พ.ศ.2091) ปินโต กล่าวว่า
“ชาวต่างประเทศทุกๆชาติที่ไปร่วมรบกับกษัตริย์สยามนั้นต่างก็ได้รับคำมั่น
สัญญาว่าจะได้รับบำเหน็จรางวัล การยกย่อง ผลประโยชน์ ความชื่นชมและเกียรติยศชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะได้รับอนุญาตให้สร้างโบสถ์เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจในแผ่นดินสยามได้....”


[3] การเข้าร่วมรบในกองทัพสยามครั้งนั้นเป็นการถูกเกณฑ์ หากไม่เข้าร่วมรบก็จะถูกขับออกไปภายใน 3 วันด้วยเหตุนี้จึงมีชาวโปรตุเกสถึง 120 คน จากจำนวน 130 คน อาสาเข้าร่วมรบในกองทัพสยาม


[4] เหตุการณ์ดังกล่าวถูกบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าเป็นศึกเมืองเชียงกรานซึ่งเกิดขึ้นในค.ศ.1538 (พ.ศ.2081) คลาดเคลื่อนไปจากที่ระบุในหลักฐานของปินโต 10 ปี


[5] แม้ว่าสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจะทรงอ้างจากหนังสือของปินโตก็ตาม
เรื่องราวในหนังสือ Pérégrinação สอดคล้องกับงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคน อาทิ การกล่าวถึง โดมิงกุส ดึ ไซซัส (Domingos de Seisus) ซึ่งเคยถูกจองจำและรับราชการเป็นนายทหารในกรุงศรีอยุธยา (กรมวิชาการ , 2531: 109) ก็ได้รับการยืนยันในงานเขียนของจูอาว เดอ บารอส (João de Baros) เช่นกัน (กรมวิชาการ,2531 : 95) เป็นต้น นอกจากนี้ อี.ดับเบิลยู. ฮัทชินสัน(E.W. Hutchinson) ก็อ้างตามหลักฐานของปินโตว่า
“ทหารโปรตุเกสจำนวน 120 คนซึ่งสมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงจ้างเป็นทหารรักษา
พระองค์(bodyguards)ได้สอนให้ชาวสยามรู้จักใช้ปืนใหญ่”


[6] ดร.เจากิง ดึ กัมปุชชี้ว่า บทบาทของทหารอาสาชาวโปรตุเกสในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชอาจส่งผลให้มีการเริ่มปรับปรุงตำราพิชัยสงครามภายใต้การช่วยเหลือของที่ปรึกษาชาวโปรตุเกส


[7] จนเป็นที่มาของการตั้ง “กรมทหารฝารั่งแม่นปืน” ใน หนังสือ“ศักดินาทหารหัวเมือง”


[8] ซึ่งประกอบด้วยทหารเชื้อสายโปรตุเกสจำนวน 170 นาย


[9] จนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใกล้เคียงกับจำนวนของทหารอาสาโปรตุเกส 120 คน ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช

ความน่าเชื่อถือ
หนังสือของปินโตถูกตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางในยุโรป จึงเป็นเหตุให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง วิลเลียม คอนเกรฟ (William Congreve, 1670-1729) นักเขียนบทละครชาวอังกฤษได้แทรกบทกวีในบทละครชื่อ “Love for Love” (ค.ศ.1695) เยาะเย้ยว่า “Mendez Pinto was but a type of thee, thou liar of the first magnitude.” (กรมศิลปากร, 2526 : 42 ) เซอร์ ริชาร์ด เบอร์ตัน ( Sir Richard Burton) ในงานเขียนชื่อ “The Third Voyage of Sinbad, the Sailor” ระบุว่า การผจญภัยของปินโตมีลักษณะคล้ายกับเรื่องราวในนิยายอาหรับและตั้งฉายาเขาว่า “ซินแบดแห่งโปรตุเกส”


[10] ดับเบิลยู. เอ.อาร์. วูด (W.A.R. Wood) ชี้ว่าควรจะอ่านงานเขียนของปินโตในฐานะที่เป็นเรื่องราวของชายชราที่ได้เดินทางกลับไปสู่มาตุภูมิอีกครั้งหนึ่งเพื่อความบันเทิง มิใช่เป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นวันต่อวัน และตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของปีศักราชในบันทึกชิ้นนี้ด้วย
อย่างไรก็ดี ดึ กัมปุช อดีตกงสุลใหญ่โปรตุเกสเมื่อค.ศ.1936 กลับชี้ว่าหลักฐานของปินโตแสดงให้เห็นว่าเขาเคยเดินทางเข้ามายังสยามจริง (Campos, 1940 : 14-15) และสิ่งที่สนับสนุนความน่าเชื่อถือในงานของปินโต คือ การยกงานเขียนในชั้นหลังๆมาเทียบเคียงความเป็นไปได้และความถูกต้องของเรื่องราวโดยเฮนรี โคแกน (ดูคำประกาศในฉบับแปลของHenry Cogan,1653 : ไม่มีเลขหน้า)
นักประวัติศาสตร์ไทยหลายคนเลือกใช้ข้อมูลของปินโตมาอ้างอิงโดยตลอด อาทิ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา มานพ ถาวรวัฒน์สกุลในเรื่องขุนนางอยุธยา(2536) อ้างเรื่องยศขุนนางสมัยอยุธยาตอนกลาง สุเนตร ชุตินทรานนท์ในเรื่องบุเรงนองกะยอดินนรธา(2538) ก็อ้างเอกสารของปินโตซึ่งระบุตรงกับราล์ฟ ฟิตซ์ (Ralph Fitch)ว่า พระเจ้าบุเรงนองนำเอาเรื่องการขอช้างเผือกมาเป็นสาเหตุของสงครามระหว่างสยามกับพม่าใน ค.ศ.1569 เป็นต้น
งานเขียนปินโตบางส่วนมีรูปแบบเป็นจดหมายติดต่อกับบุคคล (Campos,1940,P.21) ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามความแม่นยำของเวลา (Timing) ที่ระบุในบันทึกของเขา และปินโตยังยืนยันว่าเขาได้รับจดหมายฝากฝัง (recommended letter) จากผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัว (Goa) เพื่อให้ได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระราชินีแคเธอรีนแห่งโปรตุเกส (Cogan,1653 : 317) แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการอ้างอิงพยานบุคคลของเขา
หนังสือ “ Pérégrinação ” ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสยามน้อยมาก ซึ่งอาจจะอธิบายได้ว่าตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศูนย์กลางของโปรตุเกสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ที่มะละกา ปินโตจึงให้ความสำคัญต่อมะละกามากกว่ากรุงศรีอยุธยา การที่ราชสำนักโปรตุเกสสนใจดินแดนทางใต้ของพม่าและชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจีนก็น่าจะมีผลต่อโครงเรื่องของปินโตเช่นกัน การที่เขามีฐานะเป็นเพียงกลาสีเรือ นักผจญภัย แสวงโชค มิใช่บุตรขุนนางหรือนักการทูต มิใช่พ่อค้าหรือนายทหารที่ถูกส่งเข้ามาติดต่อกับสยามโดยตรง ทำให้เนื้อหาส่วนใหญ่ในหนังสือของเขาเน้นกล่าวถึงสถานที่ต่างๆตามชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิกที่เขาเคยเดินทางไปถึงมากกว่า

หลักฐานของปินโตกับปัญหาในการศึกษาชุมชนโปรตุเกสสมัยอยุธยา
หากนักเรียนประวัติศาสตร์คนใดจะนำงานเขียนของปินโตมาใช้ในการตรวจสอบเรื่องราวเกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้าค่ายโปรตุเกส ความสัมพันธ์ของคนภายในค่าย ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับราชสำนักอยุธยา ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับมะละกา กัว มาเก๊า และราชอาณาจักรโปรตุเกส รวมไปถึงอาชีพ จำนวนคนและความเป็นอยู่ในค่ายโปรตุเกสสมัยอยุธยา ก็อาจจะต้องใช้ความพยายามในการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานชิ้นนี้มากพอสมควร ปินโตระบุว่านักสอนศาสนาก็จำเป็นต้องเผยแพร่ศาสนาภายใต้นโยบายของราชสำนักหรือผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัวเช่นเดียวกับข้าราชการทั่วไป เมื่อนักบุญฟรานซิส ซาเวียร์(St. Francis Xavier)จะออกไปเผยแพร่ศาสนาในญี่ปุ่น ท่านก็ต้องเดินทางจากมะละกาไปยังกัว เพื่อรับฟังนโยบายของผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งอินเดียเสียก่อน (กรมศิลปากร, 2526 : 35) การที่ปินโตเคยเป็นทูตของข้าหลวงโปรตุเกสแห่งมะละกาไปยังรัฐต่างๆในภูมิภาคแถบนี้ อีกทั้งยังเคยเป็นทหารและนักสอนศาสนาของโปรตุเกสด้วย เขาจึงน่าจะเป็นบุคคลที่มีเกียรติพอที่จะได้รับความเชื่อถือจากผู้มีฐานะเป็นศัตรูชาติโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน แต่เขาก็ไม่เคยถูกนักประวัติศาสตร์โปรตุเกส อาทิ ดูอาร์ตึ บาร์บูซา(Duarte Barbosa) จูอาว ดึ บารอส(João de Baros )และคาสปาร์ คอร์รีอา(Caspar Correa)เสียดสีเลยแม้แต่น้อย
การกล่าวว่ากองทัพพม่านำกระบือและแรดมาลากปืนใหญ่เพื่อทำสงครามกับสยามในฉบับแปลของโคแกน ทำให้วูด(Wood)ชี้ว่างานเขียนของปินโต “เป็นหลักฐานเชิงจินตนาการ” ข้อเสนอของวูดอาจทำให้นักเรียนประวัติศาสตร์เห็นคล้อยไปกับคอนเกรฟที่ระบุว่า ปินโตเป็นคนขี้ปด โชคดีที่ ดร. เจากิง ดึ กัมปุชแย้งว่า ปินโตไม่เคยระบุคำว่า “แรด” ในงานเขียน คำศัพท์ที่เขาใช้ คือ คำว่า “bada หรือ abada”นั้น ในคริสต์ศตวรรษที่16 หมายถึง สัตว์ป่า หรือ สัตว์เลี้ยงที่กลายเป็นสัตว์ป่า แม้ว่าจะมีนักเขียนบางคน เช่น บาทหลวง กาสปาร์ ดึ ครูซ (Fr. Gaspar de Cruz) จะใช้คำดังกล่าวเรียกแรดก็ตาม ส่วนบาร์โบซา (Duarte Barbosa) จูอาว ดึ บารอส (João de Baros ) และ คาสปาร์ คอร์รีอา (Caspar Correa) ต่างก็ใช้คำว่า “ganda” ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตเมื่อกล่าวถึงแรด ขณะที่นักรวบรวมพจนานุกรม ชื่อ บลูโต (Bluteau, 1727) แปลคำว่า “abada คือ สัตว์ป่าชนิดหนึ่ง” ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญในการโต้แย้งประเด็นที่มีการแปล “abada” ว่า “แรด” (Campos, 1959 : 228) แม้ในภาษามาเลย์จะมีคำว่า “badâk” แปลว่า “แรด” แต่ในภาษาอาหรับก็มีคำว่า “abadat” หมายถึง “สัตว์ที่มีรูปร่างเป็นสีน้ำตาล” หรือ “สัตว์ป่า” หรือ “สัตว์เลี้ยงที่หลบหนีไปจนกลายเป็นสัตว์ป่า” ดึ กัมปุช ระบุว่า คำว่า “abada” ถูกแปลว่า “แรด” ในคริสต์ศตวรรษที่17 ดังนั้น “abada” ในบันทึกของปินโตจึงถูก ฟิกูอิเยร์และโคแกนแปลว่า “แรด” ในเวลาต่อมา ปินโตจะใช้คำว่า “abada” เมื่อกล่าวถึง “จามรี(yaks)” ซึ่งเป็นสัตว์ต่าง (beast of burden) ในตาตาเรีย (Tataria) เพราะไม่มีศัพท์ดังกล่าวในภาษาโปรตุเกส และใช้คำภาษาอาหรับว่า “abida” ในที่อื่นๆอีกร่วม12ครั้งเมื่อกล่าวถึงสัตว์ใหญ่คล้ายแรดหรือสัตว์ต่างชนิดอื่นซึ่งไม่อาจหาคำมาใช้แทนได้

สรุป
ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่าจะมีความสมจริงตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์ แต่ในสภาวะที่ยุโรปเพิ่งจะพ้นจากยุคแห่งการจุดไฟเผาหญิงสาวที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดและยังคงเคร่งต่อจริยธรรมทางศาสนา มีใครบ้างที่จะกล้าเปิดเผยต่อสาธารณชนว่าตนเองเคยรับประทานเนื้อมนุษย์เพื่อประทังชีวิตกลางทะเลหลังจากถูกโจรสลัดโจมตี ข้อถกเถียงในงานของปินโตอาจจะมีอยู่ไม่น้อย แต่มีหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นใดบ้างที่ปราศจากคำถามและความเคลือบแคลง งานของปินโตถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของศักราชก็เพราะบันทึกของเขาเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากความทรงจำเมื่อเขาเดินทางกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในโปรตุเกสระยะหนึ่งแล้ว
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐฯ เคยได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างยิ่งว่ามีความแม่นยำในเรื่องศักราชและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ (นิธิ, 2525 : 65) แต่ต่อมานักประวัติศาสตร์บางท่านก็เคยตั้งข้อสงสัยต่อสถานภาพดังกล่าว (นิธิ, 2525 : 6) ซึ่งถือเป็นความไม่เที่ยงของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในทางกลับกันอาจจะมีผู้ใช้บันทึกของปินโตมาตรวจสอบความแม่นยำของเอกสารฉบับใดฉบับหนึ่งอย่างจริงจังในอนาคตบ้างก็ได้






เอกสารอ้างอิง
นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2523. ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา.
นิธิ เอียวศรีวงศ์และอาคม พัฒิยะ. 2525. หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย.
มานพ ถาวรวัฒน์สกุล. 2536. ขุนนางอยุธยา.
ราชบัณฑิตยสถาน. 2550. กฎหมายตราสามดวงฉบับราชบัณฑิตยสถานเล่ม1.
วิชาการ. กรม . 2531. 470 ปีสัมพันธไมตรีระหว่างไทยและโปรตุเกส.
ศิลปากร. กรม. 2536. การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ.1537-1558.
สันต์ ท. โกมลบุตร(แปล). 2510.จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบูรณ์ เล่ม 1.
สุเนตร ชุตินทรานนท์. 2538. บุเรงนองกะยอดินนรธา.
Campos, Joaquim de. 1959. “Early Portuguese accounts of Thailand” Journal of The Siam
Society Volume VII.
Cogan, Henry. trans. 1653. The Voyages and Adventures of Fernand Mendez Pinto.
Collins, The. 1987. English Portuguese Portuguese English Dictionary.
Hutchinson, E.W. 1940. Adventurers in Siam in the Seventeen Century.
Wood, W.A.R. 1959 . “Fernão Mendez Pinto’s Account of Events in Siam” Journal of The
Siam Society Volume VII.
[1] นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร(อาจารย์ประจำภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์)
A Ph.D. Candidate of Historical Archaeology Program, Graduate School, Silpakorn University (Lecturer of Department of Tourism and Hotel Studies, Faculty of Arts and Sciences, Dhurakij Pundit University.)
[2] อ้างจากwww.wikipedia.com
[3]Fernand Mendez Pinto, op.cit., p.262
[4]Fernand Mendez Pinto, ibid., p.262-278
[5] พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม/2, (กรุงเทพ: ไอเดีย สแควว์, 2535), หน้า 259-260
[6] E.W. Hutchinson, “Adventurers in Siam in the Seventeen Century”(1940), p.22
[7] Joaquim de Campos, op.cit., pp.8-9
[8] “ศักดินาทหารหัวเมือง” เป็นเอกสารฉบับหลวงมีตรา 3 ดวงประทับ หอสมุดแห่งชาติได้มาจากกรมมุรธาธร เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 เป็นหลักฐานจำแนกโครงสร้างราชการและศักดินาในสังกัดสมุหพระกลาโหม ได้แก่ กรมอาษา กรมเขนทอง กรมทวนทอง กรมพระตำรวจ กรมสนมทหาร กรมพลพัน กรมทนายเลือก กรมรักษาพระองค์ กรมอาษาญี่ปุ่น กรมอาษาฝารั่ง ฯลฯ เคยตีพิมพ์เผยแพร่หลายครั้ง ล่าสุดตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือกฎหมายตราสามโดยราชบัณฑิตยสถานเมื่อพ.ศ.2550
[9] ราชบัณฑิตยสถาน, กฎหมายตราสามดวงฉบับราชบัณฑิตยสถาน จัดพิมพ์ตามต้นฉบับหลวง เล่ม1, 2550, หน้า 1135
[10] คำแนะนำองค์ปาฐกของ มร.อี.จี. เซบัสเตียน(E.G.Sebastian) ในบทความชื่อ “Fernão Mendez Pinto’s Account of Events in Siam” ( Journal of The Siam Society Volume VII, 1959, p.196 ) ของดับเบิลยู. เอ. อาร์. วูด ( W.A.R. Wood )








สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์




วิหารพาร์เธนอน






คือวิหารโบราณบนเนินอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ สร้างเพื่อเป็นศาสนสถานบูชาเทพีเอเธนา หรือเทพีแห่งปัญญา ความรอบรู้ ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมกรีกโบราณที่มีชื่อเสียงที่สุด แสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดของสถาปนิกในสมัยนั้นและถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดกว้าง 101.4 ฟุต หรือ 30.9 เมตร และ ยาว 228.0 ฟุต หรือ 69.5 เมตร
คำว่า พาร์เธนอน นั้นน่าจะมาจากประติมากรรมที่เคยตั้งอยู่ภายในวิหาร คือ Athena Parthenos ซึ่งมีความหมายว่า เทพีอันบริสุทธิ์


วิหารพาร์เธนอนสร้างตามการริเริ่มของเพริเคิล ผู้นำกรุงเอเธนส์ในสมัยนั้น และสร้างโดยมีประติมากรฟีเดียสเป็นผู้ควบคุมงาน การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อ 447 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึงแม้ว่าการก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อ 438 ปีก่อนคริสต์ศักราชแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีการตกแต่งเพิ่มเติมอีก 5 ปี บัญชีส่วนหนึ่งของการก่อสร้างครั้งนี้หลงเหลืออยู่ และแสดงให้เห็นว่างานที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด คือ การขนย้ายหินจากเขาเพนเทลิกัส ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเอเธนส์ไปกว่า 16 กิโลเมตร
วิหารพาร์เธนอนมีขนาดกว้าง 30.9 เมตร ยาว 69.5 เมตร (101.4 × 228.0 ฟุต) เสาภายนอกแต่ละต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.9 เมตร (6.2 ฟุต) และสูง 10.4 เมตร (34.1 ฟุต) เสาที่หัวมุมของวิหารจะมีขนาดใหญ่กว่าเสาอื่นๆ เล็กน้อย หลังคาปูด้วยหินอ่อนซ้อนกัน
เมื่อนำขนาดของวิหารนี้มาคำนวณเป็นอัตราส่วน จะพบว่าหลายๆ แห่งเป็นอัตราส่วนทองคำ เสาด้านหน้าจะมี 9 ต้น เเละด้านข้างจะมี 17 ต้น




ปิรามิด ( Pyramid )



ท่ามกลางที่ราบอันกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา เปลวแดดที่ร้อนระอุไปทั่วผืนทะเลทราย แผ่นดินที่ถูกปกคลุมไปด้วยฝุ่นผงสีแดง สิ่งก่อสร้างที่สูงใหญ่ตั้งสง่าสะดุดสายตาเมื่อได้พบเห็น สิ่งนั้นคือ ปิรามิด (Pyramid) เป็นสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อท้าทายกระแสลม แสงแดดที่แผดเผามาเป็นเวลานานหลายพันปี เพื่อแสดงถึงอารยธรรม -โบราณของมนุษย์ ต่อสายตาชาวโลกยุคใหม่ที่ยังคงฉงนสนเท่ไม่น้อยเมื่อมาพบเห็น
ปิรามิดเป็นสิ่งก่อสร้างรูปกรวยเหลี่ยมสำหรับเป็นที่เก็บศพกษัตริย์อียิปต์โบราณ ในอียิปต์มีอยู่ 70 แห่งด้วยกัน แต่ปิรามิด 3 แห่งที่อยู่เมืองกีซ่า คือ หลุมฝังศพของพระเจ้าฟาโรห์คีออพส์(พระเจ้าคูฟู) คีเฟรน และไมซีรีนัส เป็นปิรามิดที่ใหญ่ที่สุดสันนิษฐานว่าปิรามิดนี้ สร้างขึ้นมาตั้งแต่ 4600 ปีมาแล้ว นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่า ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและยังคงตั้งตระหง่านอยู่เพียงแห่งเดียวในโลก ใช้เวลาสร้าง 10 ปี
ปิรามิดที่ยิ่งใหญ่ทั้งสามอันแห่งเมืองกีซ่านี้ ที่ใหญ่ที่สุดคือปิรามิดของพระเจ้าฟาโรห์คีออพส์ เรียกว่า มหาปิรามิด
- ฐานของปิรามิดแห่งนี้มีความกว้างถึง 5770,000 ตาราง 768 ฟุต บริเวณฐานปิรามิด 4 ด้านนั้น มีความกว้างยาวเท่ากัน คือ 755 ฟุต หรือ 230.12 เมตร จะแตกต่างกันมากน้อยแค่ 8 นิ้ว - ตัวมหาปิรามิดนี้สูงประมาณ 432 ฟุตประมาณได้ว่ามีหินก้อนมหึมาถึง 2,300,000 ก้อน หนักกว่า 6,000,000 ตัน แต่ละก้อนหนักถึง 2.5 ตัน บางก้อนหนักถึง 16 ตัน กว้างยาวประมาณ 3 ฟุต หรือ 1 เมตร
สันนิษฐานว่าผู้สร้างปิรามิดนี้ อาศัยดวงดาวเป็นหลัก นอกจากความใหญ่โตอันน่ามหัศจรรย์ของปิรามิดแล้ว การก่อสร้างให้สำเร็จยัง น่ามหัศจรรย์ยิ่งกว่าหลายเท่าถ้าทราบว่าหินเหล่านี้ต้องสกัดมาจากภูเขาที่อยูไกล แล้วลากมาสู่ฝั่งแม่น้ำไนล์ ล่องลงมาเป็นระยะทางนับร้อยไมล์ จึงมาถึงจุดใกล้ที่ก่อสร้าง แล้วชักลากผ่านทะเลทรายไปถึงที่ก่อส้างต้องแต่งสลักเป็นแท่งสี่เหลี่ยม แล้วยก วางซ้อนขึ้นไปจนถึง 432 ฟุต
ใจกลางปิรามิดมีห้องเก็บพระศพของพระเจ้าคีออพส์ข้างในทำจากหินแกรนิต กว้าง 34 ฟุต ยาว 17 ฟุต และสูง 19 ฟุต หีบพระศพของพระเจ้าคีออพส์ทำด้วยหินแกรนิตตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของห้องปิรามิดของพระเจ้าคีออพส์ ล้อมรอบด้วยหลุมศพ และปิรามิดเล็ก ๆ อีก 3 แห่ง ซึ่งเป็นของสมาชิกในราชวงศ์และในราชสำนักชั้นสูง ปิรามิดแห่งที่สองของกีซ่าเป็น ปิรามิดคีเฟรน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาปิรามิด เล็กกว่ามหาปิรามิดเล็กน้อย คือสูง 460 ฟุต ช่วงบนของปิรามิดนี้มีลักษณะเด่นเพราะเป็นหินปูนขาว


ปิรามิดไมซีรีนัส เป็นปิรามิดที่เล็กที่สุดในบรรดาทั้งสามแห่ง สูงแค่ 230 ฟุต นอกเหนือจากปิรามิดทั้งสามแล้วยังมี ตัวสฟิงซ์ ซึ่งมีชื่อเสียงมากเช่นกัน โดยแกะสลักหินก้อนใหญ่เป็นรูปสิงโตหมอบอยู่แต่หน้าเป็นมนุษย์ใบหน้านี้เป็นใบหน้าของพระเจ้าคีเฟรน ซึ่งมีคนนับถือเป็นพระเจ้าแห่งพระอาทิตย์ รูปสฟิงซ์นี้สูงถึง 66 ฟุต ยาว 240 ฟุต หมอบเฝ้าปากทางที่พามุ่งตรงไปยังปิรามิดแห่งคีเฟรน



ที่ตั้งตระหง่านอยู่กลางทะเลทรายใกล้แม่น้ำไนล์ก็คือ หมู่ปิรามิดแห่งอียิปต์ ปิรามิดสร้างโดยชาวอียิปต์โบราณมาเกือบ 5000 ปีมาแล้ว นอกจากนั้นยังเป็นสิ่งก่อสร้างที่ เก่าแก่ที่สุดในบรรดา 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกสมัยโบราณด้วย และที่สำคัญก็คือเป็นสิ่งเดียวที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน
ปิรามิดสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ฝังพระศพของกษัตริย์อียิปต์โบราณ ชาวอียิปต์ในสมัยนั้นเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย ดังนั้นจึงต้องแน่ใจว่ากษัตริย์ของพวกเขาจะทรงมีทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับโลกหน้า พวกเขาได้ฝังทรัพย์สินและสิ่งของส่วนพระองค์ไปพร้อมกัน สิ่งที่นักโบราณคดีค้นพบเป็นจำนวนมากในห้องเก็บสมบัติ ของปิรามิดได้แก่ เพชรพลอย อาหาร เครื่องเรือน เครื่องดนตรี และอุปกรณ์ล่าสัตว์
ปิรามิดที่ใหญ่ที่สุดและประทับใจที่สุดคือ ปิรามิดของกษัตริย์คีอ็อปส์ ที่กีซา สร้างเสร็จเมื่อประมาณ 2580 ปีกอนคริสตกาล โดยมีผู้ก่อสร้างหลายพันคนและใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมด 30 ปี ปิรามิดแห่งกีซานี้สูงประมาณ 137 เมตร(449 ฟุต) ฐานแต่ละด้านยาว 230 เมตร(755 ฟุต) ใช้หินในการก่อสร้างทั้งหมด 2 ล้านก้อน แต่ละก้อนหนักประมาณ 2300 กิโลกรัม ใกล้กับปิรามิดใหญ่นี้มีปิรามิดเล็กๆอีก 3 องค์ซึ่งเป็นที่ฝังพระศพของพระราชินีองค์สำคัญๆของกษัตริย์คีอ็อปส์ ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้ใช้เครื่องจักรในการสร้างปิรามิด มีแต่เพียงแรงงานมนุษย์กับเครื่องมือธรรมดาๆในการก่อสร้างเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ผู้ที่สร้างปิรามิดไม่ใช่พวกทาส แต่เป็นช่างฝีมือและชาวนาที่อยู่ว่างในระหว่างที่น้ำจากแม่น้ำไนล์ท่วมพื้นที่ทำการเกษตรของตน แม้ว่าประชาชนนับพันๆคนที่มาช่วยสร้างปิรามิดจะทำงานเพื่อแลกกับอาหารและเสื้อผ้า แต่ทุกคนก็ต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างที่ฝังพระศพของกษัตริย์ที่พวกเขานับถือเป็นเทพเจ้า
การสร้างปิรามิดนั้นเริ่มจากการหาสถานที่ที่เหมาะสม และ ใช้ดวงดาวช่วยในการวางราก ฐาน ดังนั้นจึงพบว่าฐานทั้งสี่ด้านของปิรามิดที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะหันไปทางทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก เมื่อวางรากฐานเรียบร้อยแล้วก็จะเริ่มก่อปิรามิดเป็นชั้นๆสูงขึ้นไป โดยเริ่มต้นจากจุดศูนย์กลางออกไปด้านนอก วัสดุที่ใช้สร้างปิรามิดคือหินที่สกัดมาจากภูเขาที่อยู่อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำไนล์ การขนย้ายก็ทำด้วยความยากลำบากเพราะไม่มีเครื่องทุ่นแรงหรือพาหนะอย่างใดเลย แต่ใช้เชือกและแรงงานคนลากมาจนถึงบริเวณก่อสร้างในสมัยโบราณเมื่อหลายพันปีก่อน ปิรามิดสร้างด้วยความยากลำบากจากหยาดเหงื่อแรงงานและกำลังใจของประชาชน จึงทำให้ปิรามิดได้รับการจัดลำดับให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก




สวนลอยบาบิโลน






(อังกฤษ: Hanging Gardens of Babylon) จัดเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตั้งอยู่บนแม่น้ำยูเฟรติส ประเทศอิรักในปัจจุบัน สร้างโดยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่ 3 แห่งกรุงบาบิโลเนีย สร้างให้แก่มเหสีของพระองค์ชื่อพระนางเซมีรามีส สร้างขึ้นเมื่อ 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช สุงประมาณ 75 ฟุต กินพื้นที่ 400 ตารางฟุต ระเบียงทุกชั้นได้รับการตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนพุ่มชนิดต่างๆ มีระบบชลประทานชักน้ำจากแม่น้ำไทกิสไปทำเป็นน้ำตกและนำไปเลี้ยงต้นไม้ตลอดปี สวนนี้ได้พังทลายลงจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อหลังศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช













สถานที่ตั้ง กลางทะเลทราย เมืองแบกแดด ประเทศอิรักปัจจุบัน ทั้งสวนและผนังดังกล่าวทรุดโทรมจนแทบไม่เหลือซาก แล้วระหว่างในรัชสมัยของพระเจ้านาโบโปลัซซาร์และพระโอรส คือ พระเจ้าเนบูชัดเนซซาร์ที่สอง ปกครองบาบิโลนซึ่งได้ขยายแสนยานุภาพออกไปมากมายจนรุ่งเรือง พระเจ้านาโบโปลัซซาร์ทรงโปรดให้ สร้างกำแพงมหึมาล้อมรอบมือง และโอรสก็ทรงดำเนินโครงการต่อ สร้างป้อมปราการและจุดป้องกันต่าง ๆ รอบกำแพง มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำยูเฟรตีสพระเจ้าเนบูชัดเนซซาร์ โปรดให้สร้างสวนลอยซึ่งมีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วจนกลายเป็น สิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของโลกสวนลอยนี้ เป็นสวนที่สร้างอยู่เหนือพื้นดินบนพื้นที่กึ่งทะเลทราย พระเจ้าเนบูชัดเนซซาร์ ทรงสร้างให้พระมเหสีซึ่งเป็นเจ้าหญิงแห่งมีดส์ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ดี ร่วมกันขับไล่พวกอัสซีเรียออกไปได้ ตามตำนาน พระราชินีเซมีรามิส องค์นี้ทรงอาลัยอาวรณ์ ภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาเปอร์เซีย อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนและไม่โปรดความราบเรียบของนครบาบิโลน ดังนั้นจึงมีการสร้างสวนลอยขึ้นเป็นภูเขาซึ่งสร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์สวนลอยแห่งนี้สร้างเมื่อประมาณ 600 ปี ก่อนคริสตกาล โดยก่อเป็นเนินสูงซ้อนกันเป็นชั้นสูง ๆ สูงถึง 328 ฟุต หรือ 100 เมตร ล้อมรอบด้วยกำแพงแข็งแกร่งหนาถึง 23 ฟุต หรือ 7 เมตร แต่ละชั้น สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก และ ปลูกดอกไม้ พืชพันธุ์ต่าง ๆ ไว้จำนวนมาก พันธ์พฤกษ์สารพัดชนิดจากทุกมุมโลก รวมทั้งไม้ดอกและไม้เลื้อย บันไดที่พาขึ้นไปสู่สวน กว้างขวางทำด้วยหินอ่อนข้างใต้บันไดมีซุ่มคอยรับน้ำหนัก ข้างบนเฉลียงของสวนลอยมีถังน้ำที่คอยหล่อเลี้ยงน้ำพุ น้ำตก และสายน้ำต่าง ๆ บนสวนลอย น้ำจำนวนมากมายนี้ สูบมาจากแม่น้ำยูเฟรติสโดยทาส โดยชักน้ำจากเบื้องล่างขึ้นไปสู้ชั้นสูงสุดแล้วปล่อยให้ ไหลลงมาสู่ชั้นต่าง ๆ เบื้องล่างพ่อค้าวาณิชที่เดินทางในทะเลทรายมาสู่เมืองนี้ จะได้เห็นสวนลอยแห่งนี้อยู่สูงเด่นเห็นแต่ไกล จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทิศ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฎว่ากรุงบาบิโลน อยู่ในเมืองแบกแดก ของประเทศอิรักปัจจุบัน นับว่าคนสมัยนั้นมัความสามารถทางด้านสถาปัตย์และวิศวกรรมศาสตร์อย่างน่ายกย่อง จึงสามารถรักษาสวนลอยนี้ให้สวยงามเขียวชอุ่มได้ตลอดเวลา หลังจากพระเจ้าเนบูชัดเนซซาร์สิ้นพระชนม์ลงได้ 22 ปี อาณาจักรนี้ก็ตกเป็นของจักรพรรดิไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เชีย สันนิษฐานกันว่า สวนลอยแห่งบาบิโลนนี้ ยังคงอยู่คู่เมืองจนถึงวศรรตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ปัจจุบันนี้ส่วนที่หลงเหลืออยู่ให้เราได้ชมก็คือบ่อน้ำและโค้งซุ้มประตูหนึ่งหรือสองอัน และนิยาย คำร่ำลือสืบต่อ ๆ กันมา






ภาพวาดในถ้ำลาสโคซ์.







ภาพวาดในถ้ำลาสโคซ์
ภาพวาดนี้ถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ.1940 ณ ประเทศฝรั่งเศส คาดกันว่าถูกเขียนขึ้นในยุคโครมันยอง








บริเวณผนังถ้ำมีรูปเขียนของสัตว์ต่างๆ ประมาณ 100 รูป วิธีการวาดในสมัยนั้น คือ ใช้ดินสีกับถ่าน และวาดภาพด้วยนิ้วมือ






สโตนเฮนจ์








(อังกฤษ: Stonehenge) เป็นกลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางทุ่งราบว้างใหญ่ในบริเวณที่เรียกว่า ที่ราบซัลลิสเบอร์รี่ ในบริเวณตอนใต้ของอังกฤษ ประกอบไปด้วยแท่งหินขนาดยักษ์ 112 ก้อน ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง แท่งหินบางอันตั้งขึ้น บางอันอยู่ในแนวนอน และบางอันก็ถูกวางซ้อนขึ้นไปข้างบน
สโตนเฮนจ์มีชื่อเสียงอย่างมากในฐานะที่เป็นกลุ่มหินประหลาดซึ่งไม่มีใครทราบวัตถุประสงค์ในการสร้างอย่างชัดเจน และเมื่อพิจารณาถึงอายุของมันแล้ว คาดว่ากลุ่มกองหินประหลาดนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ต่างสงสัยว่า คนในสมัยก่อนสามารถยกแท่งหินที่มีน้ำหนักกว่า 30 ตัน ขึ้นไปวางเรียงกันได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ปราศจากเครื่องทุ่นแรงอย่างที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน และที่น่าแปลกไปกว่านั้นคือ ในบริเวณที่ราบดังกล่าว ไม่ใช่บริเวณที่จะมีก้อนหินขนาดมหึมานี้ ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าผู้สร้างต้องทำการชักลากแท่งหินยักษ์ทั้งหมด มาจากที่อื่น ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากบริเวณที่เรียกว่า "ทุ่งมาล์โบโร" ที่อยู่ไกลออกไปประมาณ 40 กิโลเมตรเลยทีเดียว
มีผู้สันนิษฐานถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างสโตนเฮนจ์กันหลายประเด็น แต่ประเด็นที่ดูจะได้รับความเชื่อถือมากที่สุดคือ เป็นสัญลักษณ์ถึงอวัยเพศหญิง เป็นสถานที่สำหรับการทำพิธีกรรมทางศาสนาของชนกลุ่มที่นับถือลัทธิดรูอิท รองลงมาคือความเชื่อที่ระบุว่า เป็นการสร้างเพื่อหวังผลทางดาราศาสตร์ ใช้ในการสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนท้องฟ้า เช่น สุริยุปราคา เป็นต้น
สโตนเฮนจ์ได้ถูกจัดให้เป็นเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางอีกด้วย


อ้างอิง


th.wikipedia.org/wiki/พีระมิด -

th.wikipedia.org/wiki/สวนลอยบาบิโลน

th.wikipedia.org/wiki/วิหารพาร์เธนอน

www.thaigoodview.com/library/studentshow/.../lasco.html






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น